การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหาร ของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็น (Training Needs) ด้านสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ สมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศ สมรรถนะการบริหารสารสนเทศ และสมรรถนะในการทำงานข้ามวัฒนธรรม 2) ผลการพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ชุดฝึกอบรมมีความเหมาะสมเป็นไปได้ และ 3) การศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การหาประสิทธิภาพของชุดการฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.07/84.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 การทดสอบระหว่างฝึกอบรมและหลังฝึกอบรมของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบว่า คะแนนทดสอบหลังการใช้ชุดฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การประเมินผลความพึงพอใจหลังใช้ชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยกลุ่มทดลอง มีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ. (2560). คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ. ที่ 2/2560 เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
นงนภัสส์ มากชูชิต. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินโครงการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(8), 89-103.
วีระกานท์ ศรีสมัย. (2551). สมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สะไกร โสมาศรี. (2552). สมรรถนะในการบริหารจัดการสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สิริกร วัฒนธัญญาการ. (2554). การบริหารการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2558). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อนันต์ นามทองต้น. (2551). สมรรถนะ (Competency) : พลังแห่งการพัฒนางานสู่ความเป็นเลิศ. สืบค้นจาก: http://spv-pb2.phetchabun2.net/2.doc
Blancero. D., Boroski, J and Dyer, L. (1996). Key Competency for a Transformed Human Resources Organization: Result of a Field Study. Human Resource Management. 35(3). 383-403.
British Council. (2016). World Class Study in London: Postgraduate Information Evening. Imperial College London, King’s College London, SOAS University of London and UCL.
Hilberg, J. Scott. (2008). Undergraduate students Fluency with information and Communication Technology: Perceptions and Reality. Toese University: USA. Accessed February 20, 2010. Available from ProQuest http://Proquest.umi.com/
Mello, J. A. (2011). Strategic Human Resource Management. (3rd ed.). Ohio: South Western, Cengage Leaning.
Milnor, J. O. (2007). Globalization and World-Class Schools. Educ Horia, 86(1). 65-67.
Nadler, L. & Nadler, Z. (1991). The handbook of developing human resources. (2 nd ed.). London: John Willey & Sons.
Schein, E.H. (1992). Organizational culture and leadership. San Francisco: Jossey Bass.
Shi, Y., & Low, P. (2001). Cultural influences on Organizational process in international. Projects: Two case studies. Work study, 50(7), 276-285.
Vidheechroen, G. (2001). Effective Cross-Cultural Communication Strategies in International. Business. Executive Journal.
Voorhees, R. (2001). Competency-Based Learning Models: A Necessary Future. New Directions for Institutional Research, 2001(110), 1-13.