การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

จารุณี พรหมอนุมัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน ใช้เวลา 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 82.69/82.07 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นาติยา ทิพย์ไสยาสน์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ3R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

วธัญชนก อุ่มสกุล. (2553). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้สื่อท้องถิ่นพิษณุโลก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วาสนา ไชยชำ. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนชุมชนดอนม่วงงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จังหวัดกาฬสินธุ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ. 2558. สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/16151/19148.pdf

อมรรัตน์ จิตตะกาล. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4, วันที่ 10 พฤษภาคม 2556.

อรรถวุฒิ ตรากิจธรกุล. (2542). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธี SQ4R ประกอบกับ TLS กับวิธีสอนตามคู่มือครู (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.