การพัฒนาตัวบ่งชี้และแนวทางการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563 – 2572) ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติในการประเมินการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 4) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้บริหารการศึกษา รองผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ จำนวน 366 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก พบ 3 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 2) ความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก พบว่า ความเหมาะสมพอดีตามเกณฑ์ 3) เกณฑ์ปกติในการประเมินการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา พบว่า คะแนนการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563 – 2572) มีคะแนนเฉลี่ย () = 362.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) = 39.25 ค่าต่ำสุด (Min) = 203 ค่าสูงสุด (Max) = 415 ค่าความเบ้(Skewness) = - 0.75 และค่าความโด่ง (Kurtosis) = 0.56 4) แนวทางการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563 – 2572) ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก พบ 3 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560- 2579. กรุงเทพ ฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ.
โชติกา จันทะวัน และ ญาณภัทร สีหะมงคล. (2563). การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดผลและประกันคุณภาพการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฐพงษ์ พระลับรักษา. (2559). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เดชณ์ภรัชน์ เนียมสวรรค์. (2558). รูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(1), 49 – 58.
นัยนา ฉายวงศ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปาริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
เพ็ญประภา ศรีมะโรง. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 141 – 150.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนปฏิบัติราชการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579, กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานศึกษาธิการ ภาค 9. (2562). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2562. กลุ่มยุทธศาสตร์การศึกษา เอกสารลำดับที่ 20/2562.
สุชาติ วิริยะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. วารสารมหาวิทยาลัยมาหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(1), 277 – 288.
Toro Yamame (1973). Statistics:An Introductory Analysis. (3rdEd). New York. Harper and Row Publications.