โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทาง การพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

อัชฌวุฒิ เปลี่ยนสมัย
สถาพร พฤฑฒิกุล
ภัคณัฏฐ์ จันทนวรานนท์ สมพงษ์ธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ของโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 400 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบ และส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (SEM)  ผลการวิจัยสรุปได้ว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปร ทั้ง 6 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบ (factors loading) สูงกว่า .50, มีค่าความเชื่อมั่นของแต่ละองค์ประกอบ อยู่ระหว่าง .57 - .72 และผลการวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (goodness of fit) กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ดังนี้ Relative Chi-square = 1.55 , CFI = .98, NFI = .97, GFI = .93, AGFI = .91 และ RMSEA = .03  และมีค่าสัมประสิทธิ์เชิงการพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 54 ( R2= .54 ) โดยมีค่าอิทธิพลของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้  ปัจจัยด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปัจจัยด้านบริบทของชุมชน ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริหารโรงเรียนและปัจจัยด้านครูและการจัดการเรียนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ทัดตะวัน นามจุมจัง. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต),มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

นิโรธ สมัตตภาพงศ์. (2550). ปัจจัยพฤติกรรมการบริหารที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์. (2551). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ใน เอกสารวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานประเมินและรับรองมาตรฐานการศึกษา. (2564). ประเมินคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับการพัฒนาการศึกษาไทยอย่างมั่นคง. สืบค้นจาก http://www.onesqa.or.th/th/index.php

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2561) รายงานผลการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ 2561 กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2557). รายงานการศึกษาแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 (ฉบับย่อ) . สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

ศุภชัยยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม และดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9 (1), 299-313.

Bass, B.J., & Avolio, B.J. (1990). Transformational Leadership development. Palo Algo, CA: Consulting Psychologists.

Bellanca, Ron Brandt. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Student Learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Paul, Bate., & Seligman, M.E.P. (1998). Learned Optimism. New York: Pocket Books.