การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้เทคนิคเดลฟายจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 17 คน ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ คน เงิน การบริหารจัดการและวัสดุอุปกรณ์ นำเสนอเข้าสู่กระบวนการ 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการนำองค์กร ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการจัดการกระบวนการ ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ด้านการวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ด้านการมุ่งผลลัพธ์การดำเนินงาน นำสู่ผลผลิตที่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ส่งผลให้สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับ ผู้บริหาร ครู บุคลากรมีการพัฒนาการดำเนินงาน และนักเรียนมีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิและให้ความเห็นชอบต่อรูปแบบและสามารถนำรูปแบบที่ได้ ไปใช้ในการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในลำดับต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แนวทางการประเมินเพื่อรับรองต้นแบบโรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2541). เทคนิควิธีการวิเคราะห์นโยบาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โชติช่วง พันธุเวส. (2551). แม่แบบการจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ SIPPO Model. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและการบริหารการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพิมพ์ข้าวฟ่าง จำกัด.
นิตยา มั่นชำนาญ. (2554). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนในมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
บุญยกุล หัตถกี. (2556). รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
มูลนิธิไทยรัฐ. (2562). คู่มือการประเมินโรงเรียนไทยรัฐวิทยาดีเด่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิไทยรัฐ.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2552). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ ประจำปี 2552. กรุงเทพฯ: เหรียญทอง เบส อ๊อฟเดอะเนชั่น.
สมหมาย อํ่าดอนกลอย. (2551). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต)สาขาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการเขียนรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). โรงเรียนรางวัลเป็นเลิศของครูและโรงเรียนประเทศฮ่องกง (The Outstanding Teachers and School Awards : LIK. Consultation Document). กรุงเทพฯ:วีทีซี คอมมูนิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ:ภาพการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
สุจริต คูณธนกุลวงศ์. (2562). การประกันคุณภาพกับรางวัลเดมมิ่ง. สืบค้นจาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/Learning Sharing/Evalution030847.pdf
สุนิสา วิทยานุกรณ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
The Australina Business Awords. (2019). Australian Excellence Award: AEA. Retrieved from https://serviceexcellenceawards.com.au/category/service-excellence-awards-2019-winners/
National Institute of Standards and Technology. (2019). Education Criteria for Performance Excellence, National Institute of Standards and Technology. Retrieved from http://www.baldrige.nist.gov/PDF_files/2019_Education Criteria.pdf/
The W. Edwards Deming Institute. (2019). National Quality Award, Deming Prize in Japan. Retrieved from http://www.deming.org/
Dettmann, P. E. (2004). Administrators, Faculty, and Staff/ Support Perception of MBNQA
Educational Criteria for Implementation at the University of Wisconsin Stout. Wisconsin: University of Wisconsin Stout.
International Taste institute. (2019). European Quality Award: EQA. Retrieved from http://www.emccglobal.org/lu/accreditation/eqa/
Fulston schools. (2003). Excellence model. Retrieved from http://www.fulstonschools.org/.dept/prodev/leadership/model.shtm/
Gaithersburg, MD. (2008). Baldridge National Quality Program Educational Criteria for Performance Excellence. Gaithersburg, MD: National Institute of Standard and Technology.
Greg, Bounds. (1994). Beyond Total Quailty Mananment: Toward the Emerging Paradigm. New York: McGraw-Hill.
Hughes, Larry W. & Ubben, Gerald C. (1994). The elementay Principal's handbook: a guide to effective action. Boston: Allyn and Bacon.
Peters, T.J. & Waterman, R.H. (1982). Insearch of excellence. New York: Narper & Row.
Sallis, E. & Jones, G. (2002). Knowledge management in education: Enhancing Learning & Education. London: Kogan Page.
Spring. (2015). The Singapore Quality Award: SQA. Retrieved from http://www.spring.gov.sq/portal/product/awards/sqa/