รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืน ของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ 2) ใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย คือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ ขั้นตอนที่ 2 ใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 167 คน ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ มี 6 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากร การจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมนักเรียนและกิจกรรมโรงเรียน กระบวนการการสร้างความเปลี่ยนแปลง และการมีศักยภาพขยายผลอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ จำแนกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ โดยรวมทุกด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความยั่งยืนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กนกภรณ์ รัตนยิ่ง. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) จังหวัดยะลา ใน วารสารรายงานการวิจัย โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี), หน้า 79 - 93.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการบริหารสถานศึกษาพอเพียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดี.
จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์. (2559). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
จุฑามาส พัฒนศิริ. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาส์น.
เบญจมาพร โยกเกณฑ์. (2558). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2551). เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2556). เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ : โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงสานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.
พศิน รัชเดชานนท์. (2550). การเสริมสร้างค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน
ภัทรานิษฐ์ รุ่งโรจน์ธนะชัย. (2556). ประสิทธิผลการบริหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลุบรี.
ภูดิศ พัดพิน. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ปทุมธานี.
รัตนา หลวงกลาง. (2558). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2548). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.
ลัญจกร นิลกาญจน์, ปัญญา เลิศไกร และสุดาวรรณ์ มีบัว. (2560). เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(1), 203-211.
ลานนา หมื่นจันทร์. (2559). รายงานการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
วรดี เลิศไกร จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559). การจัดกิจกรรมของเล่นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย กรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัด นครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 8(1), 71 - 94.
ศรีสุภางค์ ระเริง. (2559). การบริหารสถานศึกษาพอเพียง โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. การประชุม International Conference on Management Science, Innovation, and Technology 2016, 17 มิถุนายน 2559 ณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร.
อนันต์ศักดิ์ ภูพลผัน. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. อุดรธานี: โรงเรียนไชยวานวิทยา.
Yamane, T. (1967). Statistic: An introductory analysis. New York: Harper & Row.