แนวทางการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ภายในสถานศึกษารองรับการเรียนรู้เชิงรุก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบนิเวศการเรียนรู้ เป็นการจัดระบบที่เกื้อหนุนให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้รองรับการเรียนรู้เชิงรุก ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพและมีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยวัตถุประสงค์การวิจัย คือ เพื่อหาแนวทางการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ในสถานศึกษารองรับการเรียนรู้เชิงรุก ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนต้นแบบ จากนั้นจัดทำคู่มือการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนนำคู่มือไปถ่ายทอดให้โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี และเก็บข้อมูลความพึงพอใจจากการใช้คู่มือโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า การจัดระบบนิเวศการเรียนรู้มีหัวใจสำคัญ คือการทำงานร่วมกัน การพัฒนาร่วมกัน การตั้งเป้าหมายร่วมกัน ทั้งผู้บริหารโรงเรียน คุณครู และผู้เรียน รวมถึงการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีการเสนอแนวคิดในการพัฒนาทั้งในด้านการออกแบบการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรม ที่ส่งผลดีต่อผู้เรียน และเมื่อถอดบทเรียนการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ และออกแบบตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ นำไปสู่การสร้างคู่มือการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน และถ่ายทอดให้กับโรงเรียน จากการประเมินความพึงพอใจของการใช้คู่มือนั้น ด้านความถูกต้องและชัดเจนของเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความสอดคล้องของการออกแบบกิจกรรมกับตัวชี้วัดตามหลักสูตรระดับมาก การนำคู่มือไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในโรงเรียนได้ แสดงให้เห็นว่าเนื้อหา และความสอดคล้องของกิจกรรมต่างๆที่ออกแบบในคู่มือการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้มีความเหมาะสมสำหรับโรงเรียน จากงานวิจัยนี้จึงสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ในโรงเรียนเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้และยังสอดรับกับการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม สนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์ วุฒิชัย เนียมเทศ และ ณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). รายงานการวิจัย แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). สภาพการจัดนิเวศการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เอส.บี.เค การพิมพ์.
Trilling B., and Fadel C. (2009). 21st Century skills: Learning for life in our times. U.S.A.: Jossey-Bass A Wiley Imprint.
Fayombo GA. (2012). Active learning strategies and student learning outcomes among some university students in Barbados. Journal of Educational and Social Research, 2(9), 79-90.
Hannon V., Patton A., & Temperley J. (2011). Developing an Innovation Ecosystem for Education. Cisco, Innovation Unit.
United Nations Development Programme [UNDP]. (2019). Human Development Report 2019 Beyond income, beyond averages, beyond today: Inequalities in human development in the 21st century. NY, USA.