ผลการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ Lingua Franca Core (LFC) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ณภัทร นรชาญ
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์
เด่นชัย ปราบจันดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ Lingua Franca Core (LFC) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ Lingua Franca Core (LFC) กับเกณฑ์ร้อยละ 65 3) เพื่อศึกษาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ Lingua Franca Core (LFC) และ 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ Lingua Franca Core (LFC) กับเกณฑ์ร้อยละ 65 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 19 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 1 ห้อง จากทั้งหมด 8 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ Lingua Franca Core หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Lifestyles 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Lifestyles เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และ 3) แบบวัดทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง Lifestyles เป็นแบบทดสอบปากเปล่าแบบมาตรวัด 9 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ Lingua Franca Core (LFC) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.47 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน หรือร้อยละ 78.23 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ Lingua Franca Core (LFC) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ Lingua Franca Core (LFC) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.95 คะแนน จากคะแนนเต็ม 18 คะแนน หรือร้อยละ 77.50 และ 4) ทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) และการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ Lingua Franca Core (LFC) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

เทียนมณี บุญจุน. (2548). สัทศาสตร์: ระบบเสียงในภาษาอังกฤษและภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2549). คู่มือการสอนภาษาอังกฤษ. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นันทนา รณเกียรติ. (2555). สัทศาสตร์เพื่อการสอนการออกเสียงภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ นำไปสู่...การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ละเอียด จุฑานันท์. (2541). แนวการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2537). วิธีสอนภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brumfit, C. J., & Johnson, K. (1979). The communicative approach to language teaching. Oxford: Oxford University Press.

Crystal, D. (2003). English as a global language (Second Edition). Cambridge: Cambridge University Press.

Dauer, R. M. (2005). The lingua franca core: A new model for pronunciation instruction?. TESOL Quarterly, 39(3), 543-550.

Graddol, D. (2006). English next. London: The British Council.

Horobin, S. (2016). How English became English: A short history of a global language. Oxford: Oxford University Press.

Jenkins, J. (2000). The phonology of English as an international language. Oxford: Oxford University Press.

Lightbown, P. M., & Spada, N. (2013). How languages are learned (Fourth Edition). Oxford: Oxford University Press.

Lucas, A. (2015). A world of languages. Retrieved from https://multimedia.scmp.com/

culture/article/SCMP-printed-graphics-memory/lonelyGraphics/201505A51.html

O'Brien, M. G. (2014). L2 learners’ assessments of accentedness, fluency, and comprehensibility of native and nonnative German speech. Language Learning, 64(4), 715-748.

Reed, M., & Levis, J. M. (2015). The handbook of English pronunciation. West Sussex, UK: Wiley-Blackwell.

Richards, J. C. (2006). Communicative language teaching today. Cambridge: Cambridge University Press.

Richards, J. C., & Rodgers, T. S. (2001). Approaches and methods in language teaching (Second Edition). Cambridge: Cambridge University Press.

Zoghbor, W. S. (2010). The effectiveness of the lingua franca core (LFC) in improving the perceived intelligibility and perceived comprehensibility of Arab learners at post-secondary level. Doctoral dissertation, School of Education, University of Leicester.