ผลการจัดการเรียนรู้เเบบบูรณาการตามเเนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สาระการเรียนรู้ศิลปะ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิfสร้างสรรคดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 60 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนทั้งหมดจำนวน 23 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 งานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรม 2) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบประเมินคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for one sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.70 อยู่ในระดับดีเยี่ยม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2562). สมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2562 “นวัตกรรมทางความคิดกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน”. สืบค้นจาก https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/file_download/1646103764674-74626516.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเเห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การอยู่อย่างพอเพียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเเห่งประเทศไทย.
จันทรา ด่านคงรักษ์. (2561). การพัฒนาการสอนทักษะการคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เเห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เเละ ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2553). ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียง...สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
ทิศนา เเขมมณี. (2559). ถอดรหัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสอนกระบวนการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เเห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริญญา ชนะวาที. (2551). การศึกษาการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน วิชาศิลปศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัสยา บัวผัน, สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ และอาพันธ์ชนิต เจนจิต. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ และเจตคติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2(48), 203-224.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [สสวท.]. (2558). กรอบออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษากับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท., 43(192), 14-17.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาเเห่งชาติ.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ประเทศไทย Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาเเห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เครือข่ายการเรียนรู้ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง : ภาคีความสำเร็จเเบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักวิชาการเเละมาตรฐานการศึกษา. (2552). เเนวทางการพัฒนา การวัดเเละประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเเห่งประเทศไทย จำกัด.
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. (2564). คู่มือการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ขาดทุนคือกำไรวิสาหกิจเพื่อสังคม.
อัมพร เรืองศรี. (2554). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill.
Howkins, J. (2001). The creative economy: how people get money from ideas. London: Penguin Book.
OECD. (2019). PISA 2021 creative thinking framework third draft. Retrieved from https://www.oecd.org/pisa/publications/PISA-2021-Creative-Thinking-Framework.pdf
STEM EDUCATION THAILAND. (2014). รู้จักสะเต็ม. สืบค้นจาก http://www.stemedthailand.org/?page_id=23
Torrance, E. P. (1962). Guiding creativity talent. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
UNESCO Creative Cities Network [UCCN]. (2017). UNESCO Creative Cities Network (UCCN) “Building a collective vision for the future” strategic framework. Retrieved from https://en.unesco.org/creative-cities/sites/default/files/Mission_Statement_STEAM_Education_an_overview_of_creating_a_model_of_integrative_educationUNESCO_Creative_Cities_Network_1.pdf
Yakman, G. (2008). STEAM Education: A overview of creating a model of integrative education. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/327351326_