ผลของการใช้กิจกรรมเพื่อพัฒนาวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ 2) เพื่อเปรียบเทียบความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ ระหว่างก่อนและหลังการใช้กิจกรรมเพื่อความมีวินัยในตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในสโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความมีวินัยในตนเอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบโดยใช้สถิติ t-test dependent
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ความมีวินัยในตนเองของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการใช้กิจกรรม เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติตามกฎของมหาวิทยาลัย ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเชื่อมั่นในตนเองและด้านความเป็นผู้นำ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความมีวินัยด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และด้านการดูแลสุขภาพร่างกาย อยู่ในระดับมาก และความมีวินัยในตนเองของกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้กิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน 2) ระดับความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2563). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (สาขาพลศึกษา) หลักสูตรปรับปรุง 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
สมพงษ์ บุญญา และมานพ แจ่มกระจ่าง. (2554). ผลของการใช้กิจกรรมการกระจ่างค่านิยมต่อการมีวินัยใน ตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยและเทคโนโลยี โครงการเกษตรเพื่อชีวิต. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 7(1), 83-85.
อมรรัตน์ พนัสนาชี. (2557). การศึกษาวินัยในตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดระนอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
Kohlberg, L. (1976). Moral stages and moralization: The cognitive-development approach. In T. Lickona (Ed.), Moral development and behavior: theory and research and social issues (pp. 31-53). New York, NY: Holt, Rienhart, and Winston.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.