การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ด้วยนวัตกรรม Interactive Notebook

Main Article Content

สุธาสินี ธนัฐปิตินันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนานวัตกรรม Interactive Notebook (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาก่อนและหลังเรียนด้วยนวัตกรรม Interactive Notebook และ (3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม Interactive Notebook โดยดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่ม วัดก่อนและหลัง และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ผู้วิจัยคัดเลือกแบบเจาะจง คือ นักเรียนและครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จาก 2 โรงเรียนในตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 150 คน และ 4 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมนวัตกรรม Interactive Notebook ซึ่งมีผลประเมินคุณภาพเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและด้านการเขียนภาษาไทยซึ่งมีค่าเฉลี่ยของค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.37-0.74, 0.33-0.74 และ 0.86 ตามลำดับ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ Cronbach เท่ากับ 0.875 และ (4) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ Paired Sample T-Test ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) นวัตกรรม Interactive Notebook มีคุณภาพระดับมากที่สุด (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยนวัตกรรม Interactive Notebook อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม Interactive Notebook ในภาพรวมระดับมาก และ (4) ครูผู้สอนที่ใช้นวัตกรรม Interactive Notebook มีความเห็นว่าการนำนวัตกรรม Interactive Notebook เข้ามาใช้ในการเรียนรู้ทางการอ่านและการเขียนภาษาไทยส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนภาษาไทยสูงขึ้น

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ครูไทยฟรีดอทคอม. (2564). ตัวอย่างนวัตกรรมการอ่านออกเขียนได้. สืบค้นจาก https://www.kruthaifree.com/ตัวอย่างนวัตกรรมการอ่านออกเขียนได้/

จุฑามาศ สุบรรทม และคณะ. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณทศนิยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้สื่อสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการใช้ Interactive Notebook. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, สงขลา.

ธัญญารัตน์ ชื่นแสงจันทร์. (2563). ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยนำไปสู่การเรียนรู้. วารสารสังคมศึกษา มมร สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(1), 66-78.

นรินทร์ สังข์รักษา และสวรรยา ธรรมอภิพล. (2563). การสะท้อนการเรียนรู้ : มุมมองการสร้างองค์ความรู้ในงานวิจัยทางการศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(2), 1-15.

นารี ศรีปัญญา. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาล์น.

ศสิธร โพธิสาร และคณะ. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบเลขเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เกมคณิตศาสตร์ร่วมกับ Interactive notebook. การประชุมวิชาการระดับชาติ "วลัยลักษณ์วิจัย" ครั้งที่ 11 ปี พ.ศ. 2562, นครศรีธรรมราช.

อรุณรัสมิ์ บำรุงจิตร. (2563). สมุดงานแบบโต้ตอบ (Interactive Notebook) กับการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 23(4), 24-31.

Bemard, C. L. (1968). The functions of executive. Cambridge: Harvard University Press.

Best, J. W. (1977). Research in education. New Jersey: Prentice Hall.

Brown, D. (2018). The effect of the use of interactive notebooks on 9th grade student achievement. (Master's thesis, Goucher College, Maryland, United States).

Endacott, J. L. (2006). Interactive notebooks: Helping to meet the needs of middle school students. Social Studies Research and Practice, 2(1), 128-138.

PISA Thailand และสสวท. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Waldman, C., & Crippen, K. (2009). Integrating interactive notebooks: A daily learning cycle to empower students for science. The Science Teacher, 76(1), 51-55.

Wist, C. (2006). Putting it all together: Understanding the research behind interactive notebooks. VA: Williamsburg.

Wolman, B. B. (1973). Dictionary of behavioral science. New York: Van Norstrand.