ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมา

Main Article Content

สุนิสา ศรีสมภาร
โสภณ เพ็ชรพวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนอำเภอเมืองนครราชสีมา 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมา และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ รงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 269 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการหาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่าการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อดิจิทัล การรับรู้ทางวัฒนธรรมดิจิทัล กลยุทธ์การบริหารสื่อดิจิทัล และการสื่อสารดิจิทัล ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมา ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชน ได้ร้อยละ 74.40

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กันตชาติ กุดนอก. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัฌฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

จิตรา แก้วมะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ฉัตรชัย จันทา. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

ชาตรี มาประจง. (2557). การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ :ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2562 – 2565) จังหวัดนครราชสีมา (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นครราชสีมา: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.

สุชญา โกมลวานิช. (2563). องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. สืบค้นจาก https://app.gs.kku.ac.th.

อิทธิฤทธิ์ สิทธิ์ทองหลาง. (2565). 5 ทักษะที่คุณต้องปรับตัวในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://km.nida.ac.th/th.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล โครงการสานพลังประชารัฐ. สืบค้นจาก http://www.trueplookpanya.com.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. (School Management in Digital Era) โครงการสานพลังประชารัฐ. สืบค้นจาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232.

Contributor. (2017). Skill in Digital Leadership. Retrieved from https://digitalmarketinginstitute. com/blog /03-04-18-the-most-indemand-skills-in-digital-leadership.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Digital Marketing Institute. (2018). The Most In-Demand Skills in Digital Leadership. Retrieved from https://digitalmarketinginstitute.com/blog/03-04-18-the-most-indemand-skills-in-digital-leadership.

Gorton, C. & Gorton, B. (2018). 6 Characteristics of Digital Leadership. Retrieved from https://digileaders.com/6-characteristics-digital-leadership/.

Kane, D. (2017). Do you have a Band? : Poetry and Punk Rock in New York City. New York : Columbia University Press.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. Retrieved from https://www.cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs/.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace and World.