ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่เน้นกระบวนการ : หลักการ ปัญหาและการแก้ไข

Main Article Content

ธนนท์รัฐ นาคทั่ง
ธีระวรรธน์ บุญไชยโรจน์
ภาณุพงศ์ ศีลสังวรณ์

บทคัดย่อ

ภาษาอังกฤษจัดว่าเป็นภาษากลาง (Lingua Franca) ที่ผู้คนทั่วโลกใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้า รวมถึงการถ่ายทอดและส่งต่อองค์ความรู้ใหม่ ๆ ผ่านเอกสารทางวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเป็นทักษะแบบ Productive Skill ที่แตกต่างจากทักษะการพูด ทักษะการเขียนนั้นมุ่งเน้นการถ่ายทอดความคิดและความถูกต้องในการใช้ภาษาเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียน จึงถือว่าทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ยากที่สุดและเป็นทักษะที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนภาษาอังกฤษบ่อยครั้งด้วยเหตุผลหลายประการมีผลต่อทัศนคติในเชิงลบต่อภาษาอังกฤษระยะยาว


บทความวิชาการเรื่องทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่เน้นกระบวนการ: หลักการ ปัญหาและการแก้ไขเขียนขึ้นเพื่อ 1) รวบรวมแนวคิดและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนที่เน้นกระบวนการ 2) ระบุปัญหาด้านการเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทย  และ 3) เสนอแนะแนวทางด้านวิธีการแก้ไขปัญหาการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้กระบวนการ (Process-based Writing Strategy) เพื่อให้ผู้อ่านได้รับมุมมองและแนวทางในการนำไปพัฒนางานเขียนภาษาอังกฤษของตนเองในฐานะผู้เรียนหรือผู้ใช้ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษในการทำงาน และพัฒนาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้สอนภาษาอังกฤษต่อไป

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิชาการ

References

ดวงตา ลักคุณะประสิทธิ์, และกรองแก้ว กรรณสูต. (2548). ความคิดเห็นของอาจารย์สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารภาษาปริทัศน์, 22, 24-40.

ประยงค์ กลั่นฤทธิ์. (2556). การสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ปิยวรรณ รุ่งวรพงศ์. (2557). ปัญหาการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่ : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(3), 119-126.

รัตนา มหากุศล. (2540). การสอนทักษะการเขียน ชุดเสริมประสิทธิภาพครู แนวคิดและเทคนิควิธีการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สินีนาฏ มีศรี และภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูน. (2559). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอรรถฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สุภาพร พันเหลา. (2560). การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อัญชลีพร คำมงคล, และภัทรลดา วงษ์โยธา. (2562). การใช้รูปแบบการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง, 2(1), 1-20.

อาภาภรณ์ จินดาประเสริฐ. (2545). การใช้กลวิธีการจัดการดูแลการเรียนด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะ การเขียนภาษาอังกฤษ. วารสารวิจัย วข, 7(1), 105-112.

เอษณ ยามาลี. (2563). กระบวนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการในบริบทการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. วารสารราชพฤกษ์, 18(3), 18-29.

Dhanarattigannon, J. (2010). Teaching of writing: process-based approach. Humanities Journal, 17(2). 25-40.

Flower, L. & Hayes, J.R. (1981). A cognitive process theory of writing. College Composition and Communication, 32(4), 365-387.

Gilbert, J. (2010). Improving Japanese EFL learners’ writing performance through self-regulated strategy development. Retrieved from https://core.ac.uk/reader/70368410

Harris, K. R., & Graham, S. (2016). Self-regulated strategy development in writing: Policy implications of an evidence-based practice. Policy Insights from the Behavioral and Brain Sciences, 3(1), 77-84.

Lin Lougheed. (2006). Barron’s TOEIC test : Test of English for international communication. Indiana: B.E.S. Publishing.

Mason, L. H., Harris, K. R., & Graham, S. (2011). Self-regulated strategy development for students with writing difficulties. Theory into Practice, 50(1), 20-27.

Megan Parker Peters. (2017). SRSD in the academy school. ProQuest LLC no. 10636835.

Wenden, L. (1991). Metacognitive strategies in L2 writing: A case for task knowledge. pp.302-322. In Georgetown University Round Table on Language and Linguistics, edited by J. Alatis. Washington, D.C., WA: Georgetown University Press.

White, R. & Arndt, V. (1991). Process writing. London: Longman.

Zhang, J. & Qin, L. (2018). Validating a questionnaire on EFL writers’ metacognitive awareness of writing strategies in multimedia environments. In A. Haukas, C. Bjorke, & M. Dypedahl (eds.). Metacognition in Language Learning and Teaching (pp. 157-177). London, England: Routledge (Taylor & Francis Group).