การพัฒนาหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษที่บูรณาการโครงการในพระราชดำริฯ สำหรับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนาหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษที่บูรณาการโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฯ 4) ประเมินคุณภาพหลักสูตรฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย คือ ตำรวจที่รับผิดชอบดูแลด้านการจัดการศึกษา สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 จำนวน 3 คน ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 5 คน และครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 18 คน ระยะที่ 2 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดประเมินผล ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองแขม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน และระยะที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 4 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงใหม่ 4 โรงเรียน จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ แบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปี 2563 และ 2564 และแบบประเมินคุณภาพหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ ฐานะยากจน ด้อยโอกาส โรงเรียนดำเนินโครงการในพระราชดำริฯ แต่ไม่ได้นำมาบูรณาการกับรายวิชา ครูผู้สอนส่วนใหญ่ไม่มีวุฒิทางการศึกษา ไม่มีความรู้วิชาครู ไม่สามารถออกแบบหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทได้ จัดการเรียนรู้ตามหนังสือที่ส่วนกลางนำมาให้ทำให้ไม่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน ใช้การจัดการเรียนการสอนทางไกล (DLTV) มาช่วยสอน ขาดสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมวัดประเมินผลโดยเน้นการทดสอบมากกว่าการประเมินตามสภาพจริง และผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับสังกัดและประเทศ 2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเป็นการนำโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาบูรณาการกับเนื้อหาภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ใช้หลักการออกแบบของ ADDIE Model โดยวิเคราะห์ กำหนดเป้าหมายของผู้เรียน พัฒนาและออกแบบการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) โครงสร้างรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 8 หน่วย (4) กิจกรรมการเรียนรู้ และ (5) การวัดและประเมินผล 3) ผลการใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนมีผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้นและสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับสังกัด มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสูงขึ้น 4) ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรจากการขยายผลอยู่ในระดับดีมากและผลการทดสอบ O-NET ของนักเรียนสูงขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กันต์พงศ์ ทวีสุข. (2566). ทำไมเด็กไทยไม่เก่งอังกฤษ 3 อุปสรรคกับทางเลือกสำหรับการพัฒนาภาษาอังกฤษของเด็กไทย. สืบค้น 23 มีนาคม 2564, จาก https://korpungun.com/three-obstacles-learning-english/
ดารินทร อินทับทิม, อภิญญา ห่านตระกูล, ศุภาวรรณ ปิงใจ, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, พูนพงษ์ งามเกษม, และเฉลิมพันธ์แก้วกันทะ. (2562). การพัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนเมี่ยน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมนด้วยกระบวนการสอนแบบโฟนิกส์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 67-84.
พงศธร มหาวิจิตร. (2558). Theme-Based Unit: ความท้าทายในการออกแบบการเรียนรู้สำหรับครูยุคใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 30(2), 93-101.
ปาริฉัตร ไกรสนาม, สุธาสินี บุญญาพิทักษ์, และเมธี ดิสวัสดิ. (2565). รูปแบบการเรียนรู้บูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5-6 ในโรงเรียนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ จังหวัดสงขลา. การจัดประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 โดย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2562.pdf
โรงเรียนบ้านหนองแขม. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีของโรงเรียนบ้านหนองแขม. เชียงใหม่: โรงเรียนบ้านหนองแขม.
อนุสสรา เสริมศรี. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อิชยา กองไชย. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังและพูดภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับลูกเสือมัคคุเทศก์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกัน และการเสริมต่อการเรียนรู้ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, สกลนคร.
Canale, M., & Swain, M. (1980). Theoretical bases of communicative approaches to second language teaching and testing. Applied Linguistics, 1(1), 1-47.
Cameron, L. (2001). Teaching languages to young learners. Cambridge: Cambridge University Press.
Costley, K.C. (2015). Research supporting integrated curriculum: evidence for using this method of instruction in public school classrooms. Retrieved March 28, 2022, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED552916.pdf.
Kurt, S. (2018). ADDIE model: instructional design. Educational Technology. Retrieved September 7, 2018, from https://educationaltechnology.net/the-addie-model-instructional-design/
Nebraska Department of Education. (1993). The primary program: growing and learning in the Heartland. Retrieved March 28, 2022, from https://www.education.ne.gov/wpcontent/uploads/2017/07/IC.pdf
Steven, J. M. (2008). Instructional systems. College of Education, Penn State University.
Taba, H. (1962). Curriculum development: theory and practice. New York: Harcourt Brace and World.
Widdowson, H. G. (1980). Linguistics and Language Teaching. Oxford University Press.