การศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเองก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 4 (หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี) ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ตอน ประกอบด้วย 1) สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทั้งหมด 3 ด้าน จำนวน 30 ข้อ ได้แก่ ด้านความรู้ จำนวน 10 ข้อ ด้านความพร้อม จำนวน 10 ข้อ และด้านทักษะการสอน จำนวน 10 ข้อ และ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัย เป็นคำถามปลายเปิด จำนวน 1 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยสรุปประเด็น ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่านิสิตชั้นปีที่ 4 มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับสูง ( = 3.60, = 0.85) มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 3.52, = 0.87) มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านความพร้อม โดยรวมอยู่ในระดับสูง (=3.71, = 0.89) มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านทักษะการสอน โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 3.58, = 0.79)
2. ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า นิสิตได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ คือนิสิตมีความกังวลใจเรื่องการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ความคาดหวังผู้ปกครองของนักเรียนและแรงกดดันที่จะอาจพบเจอในโรงเรียน ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมและวิธีการสอน การจัดการชั้นเรียน การทำแผนการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียน การทำสื่อการสอน การวัดและประเมินผลนักเรียน การวางตัวให้เหมาะสม การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ภายในโรงเรียน และการปรับตัวเข้ากับครูและนักเรียน ส่วนข้อเสนอแนะต่าง ๆ พบว่า นิสิตต้องการคำชี้แนะเพิ่มเติมจากอาจารย์ในสาขาการศึกษาปฐมวัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องวิธีรับมือกับนักเรียนและผู้ปกครอง วิธีการรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์เฉพาะหน้าต่าง ๆ ในโรงเรียน วิธีการสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ วิธีการจัดการชั้นเรียน เทคนิคการพูดคุยกับเด็กปฐมวัย วิธีการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกสอนประสบการณ์วิชาชีพครู การทำแผนการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียน การทำสื่อการสอน การวัดและประเมินผลนักเรียน บุคลิกภาพที่เหมาะสมในสถานศึกษา การวางตนขณะปฏิบัติการสอนและการปฏิบัติตัวต่อหน้านักเรียน วิธีการปรับตัวให้เข้ากับครูและนักเรียนรวมถึงการปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ. (2550). รายงานโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้การอบรมและกระบวนการด้านจิตตปัญญาศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ. (2557, 14 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง. หน้า 16-19.
ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2560). การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565 จาก https://drpiyanan.com/2017/06/25/article1-2/
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาผู้เรียนไปสู่ Great zone. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
สุริยเดว ทรีปาตี. ออนไลน์. ‘หมอสุริยเดว’ ชี้ทำร้ายเด็ก คือพฤติกรรมเลียบแบบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565. จาก https://www.nationtv.tv/main/content/378799447
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อภิญญา อิงอาจ และชลธร อริยปิติพันธ์. (2553). การรับรู้ความสามารถของตนด้านการเรียน และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย กรุงเทพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 9(1), 30-43.
Bandura, A. (1997). Self- efficacy: The exercise of control. New York : W.H. Freeman and company.
Browder DM, Shapiro E.S. (1985). Applications of self-management to individuals with severe handicaps: A review. Journal of the Association for Persons with Severe Handicaps,
(4), 200–208.
Evans, D. R. (1997). Health promotion, wellness programs, quality of life and the marketing of psychology. Canadian Psychology / Psychologie Canadienne, 38(1), 1–12.
Badalamenti, J. (2016). The 4 essential elements of passion-based learning. Retrieved from https://www.eschoolnews.com/2016/05/02/the-4-essential-elements-of-passion-based-learning/
Kanfer, F.H., & Gaelick-Bays, L. (1991). Self management method. In F.H. Kanfer, & A. Goldstein (Eds.). Helping people change: A textbook of methods (305-360). New York: Pergamon Press.
Luthan, F. & Youssef, C.M. (2007). Emerging positive organizational behavior. Journal of Management, 33(5), 321-349.
Professional Learning Board. (n.d.). Passion-based learning. Retrieved from https://k12teacherstaffdevelopment.com/tlb/