การพัฒนาห้องสมุดที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

เสกสรร มาตวังแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างห้องสมุดที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาผลการจัดประสบการณ์ในห้องสมุดที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กนักเรียน ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองชลบุรี จำนวน 1 ห้อง รวม 18 คน ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 8 สัปดาห์ ๆ ละ 5  ครั้ง รวมทั้งสิ้น 40 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดประสบการณ์ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านของเด็กปฐมวัย และแบบสังเกตพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของเด็กปฐมวัย การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


1. ห้องสมุดที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย มีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ (1) วรรณกรรมสำหรับเด็ก (2) บรรยากาศส่งเสริมการอ่าน (3) สื่อภาษา (4) กิจกรรมการอ่าน และ (5) กิจกรรมประกอบการอ่าน โดยมีกระบวนการจัดประสบการณ์ในห้องสมุด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ขั้นเรียนรู้วรรณกรรม  ระยะที่ 2  ขั้นสร้างประสบการณ์อ่าน และระยะที่ 3  ขั้นทบทวนและนำเสนอ


2. ผลการจัดประสบการณ์ในห้องสมุด พบว่า หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีคะแนนความสามารถในการอ่านและคะแนนพฤติกรรมการใช้ห้องสมุด สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และลักษณะผลงานของ เด็กขณะเรียนรู้ ประกอบด้วย งานเขียน งานกระดาษ งานปั้น

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ อ่อนแก้ว, นิชาภา พรมยอด, ธฤต ศรนิรันดร์, และ เยาวลักษณ์ สุวรรณแข. (2565). การศึกษาสภาพปัญหาและการพัฒนาห้องสมุดสำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนบ้านท่านุ่น จังหวัดกระบี่. วารสารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 15(1), 33-44.

กุหลาบ ปั้นลายนาค. (2545). การปฏิบัติงานในห้องสมุดโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

จารุทัศน์ วงศ์ข้าหลวง. (2557). การพัฒนารูปแบบ READ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเริ่มแรกของเด็ก วัยเตาะแตะ (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธันยา พิทธยาพิทักษ์. (2563). หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอนชุดวิชา การพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านภาษา หน่วยที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เบญจา แสงมลิ. (2556). สื่อเพื่อจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย (1). เอกสารการสอน ชุดวิชาสื่อการสอนระดับปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 9. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราศี ทองสวัสดิ์. (2556). การจัดประสบการณ์เพื่อฝึกทักษะทางภาษาแก่เด็กปฐมวัย. เอกสารการสอนชุดวิชา การสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4. นนทบุรีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรนาท รักสกุลไทย, และนฤมล เนียมหอม. (2555). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. ประมวลสาระชุดวิชา การจัดประสบการณ์สาหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 3 (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัฒนา มัคคสมัน. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอน ชุดวิชา พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 13 (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิมล ตันติอภิวัฒน์, และวรวรรณ เหมชะญาติ. (2562) การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ปี ในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), 1-10.

สถาบันราชานุกูล. (2557). การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย (Pre-reading skills). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. (2556). โครงการพัฒนาองค์ความรู้ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์ แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับห้องสมุด. กรุงเทพฯ : สมาคมฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิค.

สุขุม เฉลยทรัพย์. (2553). รูปแบบการส่งเสริมการอ่านของเด็กปฐมวัยในทรรศนะของครูและผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ และ ธิดา พิทักษ์สินสุข. (2543). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิด เรกจิโอเอมีเลีย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Edwards, C., Gandini, L., & Forman, G. (1998). The Hundred Languages of Children. London: Ablex Publishing Corporation.

Gower, S., Loewecke, A., & Beal, A. (2023). 5 Tips for Planning Early Literacy Library Spaces. Retrieved from http://www.demcointeriors.com/blog/5-tips-early-literacy-library-spaces/