ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ตามแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาตามแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ต ผู้ให้ข้อมูลการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาตามแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.70, SD = 0.81) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผู้ร่วมงานและการมีเครือข่าย (= 4.30, SD = 0.60) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ และความคิดริเริ่ม (= 3.20 , SD = 1.08) และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาตามแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.49, SD = 0.57) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก (= 4.60, SD = 0.52) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ฝ่ายจิต (= 4.25 , SD = 0.64) และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาตามแนวคิดการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (PNIModified = 0.21) องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ และความคิดริเริ่ม (PNIModified = 0.40) รองลงมา คือ ด้านการจัดการศึกษาเชิงอ้าแขนรับ (PNIModified = 0.30) ด้านผลประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก (PNIModified = 0.30) ด้านแสวงหาความเป็นเลิศ (PNIModified = 0.30) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ปีการศึกษา 2565-2570. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา. สืบค้นจาก https://www.acs.ac.th/PDF/QA_PDF/01_QA/02_QA_2565-2570.pdf
งานมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ฝ่ายการศึกษามูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. (2555). มาตรฐานการศึกษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4. นนทบุรี: Pim Pim Printing.
ชวนคิด มะเสนะ. (2559). การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในทศวรรษหน้า. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(1), 9-16.
โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2559). การจัดการทรัพยากรบุคคล พื้นฐานแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เตือนตา สุพรรณทอง. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สหวิทยาเขตนนทบุรี 2 (สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นารีรัตน์ ยิ่งยวด. (2556). การนำเสนอวิธีการการพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
พงษ์พัฒน์ คาโสจันทร์. (2563). แนวทางการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทย ตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล. (2010). ทิศทางการจัดการศึกษาในแนวทางมงฟอร์ต : Montfortian Education Charter. กรุงเทพฯ: กรีน ไลฟ์.
มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. (2559). แผนยุทธศาสตร์มูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ระยะ 6 ปี(พ.ศ.2559-2564). กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นติ้ง.
วรัฎฐา จงปัตนา. (2561). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนอนุบาลทรัพย์ปัญญาตามแนวคิดภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี (สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเมธ เดียวอิศเรศ. (2531). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dessler, G. (2015). A Framework for Human Resource Management (6th ed). Indochina: Pearson Education Indochina. Retrieved from https://monizaharie.files.wordpress.com/2017/11/dessler-human-resourcemanagement-2015.pdf
Harerimana, J. P. (2019). Equity Vs Equality: Facilitating Equity in the Classroom. International Journal of Research and Scientific Innovation (IJRSI), 6(11), 216 - 219.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.
Nadler, L. (1980). Corporate Human Resources Development. New York: American for Training and Development.
Wexley. K. N., & Latham, G. P. (1991). Developing and Training Human Resources in Organization (2nd ed.). New York: Harper Collins.