การศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาครูแนะแนว เพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา

Main Article Content

ศุภมิตร ศิรกัณฑะมากุล
รินรดี ปาปะใน
อัคครัตน์ พูลกระจ่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูแนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 30 คน โดยใช้เกณฑ์มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทและมีประสบการณ์ด้านการสอนแนะแนว 10 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา จำนวน 4 ด้าน รวม 11 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\chi&space;\bar{}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับ อาชีวศึกษา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้าน Pre-Activity สำรวจความต้องการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา 2) องค์ประกอบด้าน Activities การพัฒนาสมรรถนะครูแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา 3) องค์ประกอบด้าน Result ผลที่ได้จากการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาผ่านกระบวนการฝึกอบรมของครูแนะแนว และ 4) องค์ประกอบด้าน Outcome ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากครูจัดกิจกรรมเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา และองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษาในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\chi&space;\bar{}= 4.65, S.D.=0.72)

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล.(2555). วิกฤติแรงงานไทย. เศรษฐ’ ธรรมศาสตร์, 4(13), 258 - 280.

ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2564). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

ธันว์รัชต์ สินธนะกุล. (2557). การพัฒนาระบบสนับสนุนการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยอาศัยแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเหมืองข้อมูลร่วมกับ พหุปัญญาของนักเรียน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาส์น.

ปกป้อง จันวิทย์ และศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2564). ปัญหาของระบบอาชีวศึกษาไทย. สืบค้นจาก http://pokpong.org/writing/vocational-education/

เป็นไท เทวินทร์. (2557). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2), 272 - 283.

พีระวัตร จันทกูล. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู่ในศตวรรษที่ 21 (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

เมธีศิน สมอุ่มจารย์. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

วรรณศา ปลอดโปร่ง. (2555). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง ในการเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

วสันต์ ปานทอง. (2556). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อศิษย์ในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สมคิด ก่อมณี. (2560). การพัฒนากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้กิจกรรมแนะแนว. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 258 - 280.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการการศึกษา.

สุนิสา วงศ์อารีย์. (2559). หลักการแนะแนว. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุรชัย เทียนขาว. (2562). การผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศต้อง Demand Side.สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/article/news_1585348

Gibbons, S. (2016). Design Thinking 101. Retrieved from https://www.nngroup.com/articles/design-thinking

Willer, D. (1986). Scientific Sociology Theory and Method. New Jersey: Prentice-Hill.