การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ศิรประภา พฤทธิกุล
เชวง ซ้อนบุญ
สุกัลยา สุเฌอ
ชนาสร นิ่มนวล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ใช้บัณฑิต รวมจำนวน 37 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งในภาพรวม (gif.latex?\mu= 4.92, gif.latex?\sigma= 0.29) และรายด้าน โดยด้านกระบวนการมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (gif.latex?\mu = 4.94, gif.latex?\sigma = 0.24) รองลงมาเป็นด้านผลผลิต (gif.latex?\mu = 4.93, gif.latex?\sigma = 0.27) ด้านบริบท (gif.latex?\mu = 4.93, gif.latex?\sigma = 0.26) และด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.82, gif.latex?\sigma = 0.42) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากผู้ให้ข้อมูล มีดังนี้ (1) ด้านบริบท ควรเพิ่มทางเลือกแผนการเรียนที่ทำสารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) ด้านปัจจัยนำเข้า ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย (3) ด้านกระบวนการ ควรเพิ่มกิจกรรมเสริมหลักสูตรเกี่ยวกับการศึกษาดูงาน และ (4) ด้านผลผลิต ควรเพิ่มคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ สมรรถนะที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ทักษะการพัฒนานวัตกรรมที่สนองตอบบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

ชินวัฒน์ ไข่เกตุ และคณะ. (2564). ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 56-78.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2552”. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 125 ง, 31 สิงหาคม 2552 (หน้า 17-19).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง, 13 พฤศจิกายน 2558 (หน้า 12-24).

ชินวัฒน์ ไข่เกตุ และคณะ. (2564). ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 56-78.

มารุต พัฒผล. (2556). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์.

มารุต พัฒผล. (2563). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(1). 1-16.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2565). การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการสอน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้น.

วิโรชน์ หมื่นเทพ. (2564). มุมมองใหม่เรียนรู้วิจัยอย่างมีความสุข. วารสารวิทยวิชาการ, 4(1), 223-232.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561) แผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2564). 8 ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4673/

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)”. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง, 1 พฤศจิกายน 2565 (หน้า 1-18).

อรนุช ลิมตศิริ. (2560). การศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3). 1643-1658.

Aldridge, J., Calhoun, C. & Aman, R. (2000). 15 Misconceptions about multicultural education. Focus on Elementary, 12(3), 1-6.

Bailey R. (2010). The philosophy of education: An introduction. London: Bloomsbury.

Bloom, Benjamin S. (1956). Taxonomy of education objective handbook I: Cognitive. New York: David Mackey Company.

Oliva, P. F., & Gordon II, W. R. (2013). Developing the curriculum (8th ed.). Singapore: Pearson Education South Asia Pte Ltd.

Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (2018). Curriculum foundations, Principles and issues (7th ed.). New Jersey: Englewood Cliffs.

Shechtman, N., et al. (2016). Empowering adults to thrive at work: Personal success skills for 21st century jobs: A report on promising research and practice. Chicago, IL: Joyce Foundation.

Stufflebeam, D.L., et al. (2008). The CIPP model for evaluation. In faculty education, Naresuan University. International Seminar on New Directions in Educational Research, Measurement and Evaluation: The 16th Thailand Education Research, Measurement and Evaluation Get-together, 17-18 January, 2008. (pp.9-23). Phitsanulok: Naresuan University.

Stufflebeam, D. L., & Coryn, L.S.. (2014). Evaluation theory, models, and applications (2nd ed.). USA: Jossey– Bass A wiley imprint.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models, & application. San Francisco: John Wilwy.