การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ อักษร
ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์
อรสา จรูญธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการดำเนินงาน  การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำแนกตาม ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 400 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่มของทาโร ยามาเน่ (Yamane, 1973) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของ Likert (1967) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบที (t - test)


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด  2 ด้าน คือ ด้านการกำหนดมาตรฐาน และด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ส่วนอีก  5 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน พบว่า ครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ ไชยวุฒิ. (2561). การดําเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ราชกิจจานุเบกษากฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. (ข) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561.

จำนงค์ จั่นวิจิตร. (2559). การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วม ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

นุชกานดา พิมโคตร. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อระบบการประกันคุณภาพสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตกันทรารมณ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. สืบค้นจาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1667.ru

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มาหะมะบาคอรี มาซอ. (2564). การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา, ยะลา.

ลดาวัลย์ ตั้งมั่น. (2561). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

วันทนา เนื้อน้อย. (2560). การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.

สถาพร ไตรพิษ. (2559). ความคิดเห็นของครูที มีต่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนศูนย์อำนวยการเครือข่ายภูผายล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

สราวุฒิ คณะขาม. (2560). การดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3121

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. สืบค้นจาก https://data.bopp-obec.info/emis/index.php.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระกับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: รงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อรสา โกศลานันทกุล. (2549). เอกสรประกอบการสอนวิชาวิทยาการวิจัย (Research Methodology). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี.

Likert, R. (1967). Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed). New York: Harper and Row.