ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

ศรินทิพย์ ทะสะระ
ทิพมาศ เศวตวรโชติ
สันติ อุนจะนำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ และ 2) ตรวจสอบโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 850 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนใช้หลักการทางสถิติ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Factor Analysis ในรูปแบบของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยค่าความสอดคล้องทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 และวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.99  ผลการศึกษาพบว่า 1) ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุข มี 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย 100 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความสบายกาย มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 2) ความสบายใจ มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 3) ความสุข มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 4) ความสงบ มี  4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ และ 5) ความยุติธรรม มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ และ 2) โครงสร้างตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำสันติสุข มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (X2) เท่ากับ 9.77 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 5 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value) เท่ากับ 0.08  โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก มีค่าเป็นบวกตั้งแต่ 0.82 – 0.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบหลัก และค่าองค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้ มีค่าเป็นบวกตั้งแต่ 0.47 – 1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัว (ยุทธ ไกยวรรณ์, 2557) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา เดชนะ. (2543). ความพึงพอใจของผู้ต้องขังวัยหนุ่มต่อการจัดสวัสดิการผู้ต้องขัง: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กุลธิดา ลิ้มเจริญ. (2562). กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพตามแนวพุทธบูรณาการ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

จารึก ศิรินุพงษ์ และคณะ. (2560). กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสันติของผู้นำทางสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ปัตตานี: (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี.

จุฑามาศ พันธุ์ทอง. (2563). ความสงบสุขในชีีวิต. วารสารปรัชญาอาศรม, 2(2), 83-91.

ทิพมาศ เศวตวรโชติ. (2559). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบบูรณาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, นครปฐม.

นงลักษณ์ ลักษณะโภคิน. (2562). การสร้างตัวชี้วัดองค์กรสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ 26 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.

นฤมล จิตรเอื้อ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานอย่าง สร้างสรรค์และผลการปฏิบัติงานเชิงนวตักรรมผ่านความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 14(2), 349-280.

นวรัตน์ ไวชมภู. (2562). การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

ประภาส แก้วเกตุพงษ์. (2563). ความเข้าใจเรื่องปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนา. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(1), 508-518.

พัชรี ศิลารัตน์. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 99-111.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2557). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรากร ทรัพย์วิระปะกร และเกรียงศักดิ์ รัฐกุล. (2560). ความสุขใจของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(1), 55-68.

ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2565). แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้.

สมรัฐ แก้วสังข์. (2557). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สันติ อุนจะนำ. (2559). ตัวบ่งชี้ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้สำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, นครปฐม.

อนงค์ ไต่วัลย์ และพัชรินทร์พร ภู่อภิสิทธิ์. (2562). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวของผู้ตามและผลการดำเนินงานของผู้ตาม ในยุคไทยแลนด์ 4.0: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย ราชมงคลพระนคร.

Lindeman, R.Z., Merenda, P.F., & Gold, R. Z. (1980). Introduction to bivariate and multivariate analysis. Glenview, Illinois: Scott, Foreman, and Company.

Office of the National Education Commission. (2003). National Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendments (Second National Education Act B.E. 2545 (2002). Bangkok. Pimdeekarnpim.