สาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ เรื่องความหลากหลายทางเพศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีบทบาทในการจัดสาระการเรียนรู้ ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดสาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือการจัดสาระการเรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศอย่างน้อย 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ คือ การสังเคราะห์เอกสารโดยการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา และพิจารณาแบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมในองค์ประกอบของเนื้อหาที่ต้องการวัด ผลการวิจัยพบว่า สาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ รับรู้ และยอมรับเกี่ยวกับเพศสภาวะของตนเอง ทั้งจากภายในตนเอง และภายนอกคือ มุมมองของบุคคลอื่น จนสามารถระบุอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง นำไปสู่การพัฒนาตนเอง ผ่านการแสดงออกทางการกระทำ วิถีทางเพศ และพฤติกรรมทางเพศที่สอดคล้องกับวิถีของชุมชนและสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสม โดยปราศจากภาพเหมารวมทางเพศ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ความตระหนักรู้ทางอารมณ์ในความหลากหลายทางเพศ 2) การประเมินตนเองตามเพศวิถี 3) ความเชื่อมั่นในตนเองและการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและครอบครัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ทิโมธี โอจาเนน, โคลดี้ ฟรีแมน, ปริยศ กิตติธีระศักดิ์, นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์, สกล โสภิตอาชาศักดิ์, กุลวดี ทองไพบูลย์, กวิน เทียนสุวรรณ. (2566). สุขภาพจิตและสุขภาวะของเด็กและเยาวชนหลากหลายทางเพศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก ประเทศไทย.
ทัศนีย์ สุริยะไชย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเองกับการร่วมรู้สึกในวัยรุ่น (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ธีรศักดิ์ จิระตราชู. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ที่มีต่อความตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์. (2563). การพัฒนาคู่มือเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 13(1), 74-83.
ภาษิต ทิมสถิตย์. (2558). ผลการปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ ต่อความตระหนักรู้ในตนเองของสาวประเภทสอง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ยอดแก้ว แก้วมหิงสา. (2554). การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาตามแนวคิดของแครทวอลเพื่อสร้างเสริมความตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ทักษะชีวิต รหัสครูศตวรรษที่ 21
: การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www.unicef.org/thailand/media/966/file/21st%20Century%20Skills%20Education%20Teacher%20Manual.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คำชี้แจง และตารางกำหนดเนื้อหาเพศวิถี. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Duval, S., & Wicklund, R. A. (1972). A theory of objective self awareness. Massachusetts: Academic Press.
Erikson, E. H. (1968). Identity youth and crisis. NewYork: W.W. Norton & Company.
Eurich, T. (2018). What self-awareness really is (and how to cultivate it). Retrieved from
https://hbr.org/2018/01/what-self-awareness-really-is-and-how-to-cultivate-it
Gender Spectrum et al. (2019). Principles for gender-inclusive puberty and health education. Retrieved from https://gender-spectrum.cdn.prismic.io/genderspectrum%2F9ab3b6f1-314f-4e09-89d8-d5d8adc6511a_genderspectrum_2019_report_web_final.pdf
Ghosh, S., & Walker, L. (2005). Sexuality: gender identity. Retrieved from http://www. emedicine.com/ped/topic2789.htm.
Goleman, D. (1998). The emotional intelligence of leaders. Leader to Leader, (10), 20-26.
Hassan, S. N. S., Robani, A., & Bokhari, M. (2015). Elements of self-awareness reflecting teachers’ emotional intelligence. Asian Social Science, 11(17), 109.
Hennessy, T., & Bloomberg, S. (2020). Queering your culture: The importance of gender diversity and inclusion in the classroom. Montessori Life, 32(1), 40–47.
Jaakkola et al. (2022). Becoming self-aware—How do self-awareness and transformative learning fit in the sustainability competency discourse?. Frontiers in Education, 7, 1-13.
Jordan, T. (2011). Skillful engagement with Wicked Issues: A Framework for Analyzing the Meaning-Making Structures of Societal Change Agents. Integral Review: 7(2), 47–91.
Meyer, E. (2010). Gender and sexual diversity in schools. Netherlands: Springer Dordrecht.
Stonewall. (2018). Creating an LGBT-inclusive secondary curriculum. Retrieved online on September 15, 2021 at https://www.stonewallscotland.org.uk/resources/creating-lgbt-inclusive-secondary-curriculum
UNESCO. (2014). Lesson plans for teaching about sexual and gender diversity in Thailand.
Bangkok: UNESCO.
UNESCO. (2017). Education for Sustainable Development Goals: Learning Objectives. Paris: UNESCO.
UNESCO. (2018). International technical guidance on sexuality education: an evidence-
informed approach. Bangkok: UNESCO.
Whetten, D. A., & Cameron, K. S. (1991). Developing management skills. New York: Harper Collins.
WHO. (1997). Life skills education in school. Geneva: WHO.
WOOLLEY, S. & AIRTON, L. (2020). Teaching about gender diversity: Teacher-tested lesson plans for K-12 classrooms. Toronto: Canadian Scholars.