การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการอ่าน จับใจความ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบค่าที แบบ t-test for dependent sample และ แบบ t-test for one Samples ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.18/82.5 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกริก ท่วมกลาง และ จินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์ (1998).
เกสร รองเดช. (2544). การสร้างแบบฝึกสอนซ่อมเสริมการออกเสียงพยัญชนะ ง ฟ ฝ คว และปว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เพชรเกษมการพิมพ์.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และ อัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อลีน เพรส.
ชนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบการสอนการบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุลีมาตร บรรณจงส์. (2553). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเรื่องความน่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
ชูศรี วงศ์รัตนะ และ องอาจ นัยพัฒน์. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์ : แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาภรณ์ แสงปัญญา. (2561). ผลการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ทฤษฎี การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
พิรุนเทพ เพชรบุรี. (2559). ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญพัตรา ไชยบัง. (2555). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่าน โดยใช้วิธี SQ3R สําหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, กัลยา สหชาติโกสีห์, ปรุงจิต สุจินพรัมหม, นุช ม่วงเก่า และ เปรมพร นวลนิ่ม. (2553). ศิลปะการอ่านอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ไทยร่มเกล้า.
โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา". (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา".
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้ สำหรับครูคณิตศาสตร์ : หลักสูตรการสอน และการวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
แววมยุรา เหมือนนิล. (2553). การอ่านจับใจความ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กในการ อ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา. (2552). แผนการจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. วารสารวิชาการ, 12(4), 20.
สุวิทย์ มูลคำ. (2553). ครบเครื่องเรื่องการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/
Glynn Shawn. (2007). The teaching-with-analogies model: Build Conceptual Bridges with Mental Models. Science and Children, 44(8), 52-55.
Harrison, A. G. & Coll, G. (2008). Using analogies science in middle and secondary classroom. California: Corwin Press.
Shany, M. & Biemiller, A. (2009). Individual differences in reading comprehension gains from assisted reading practice: pre existing conditions, vocabulary acquisition, and amounts of practice. New York: Columbia University.