การประเมินหลักสูตรและอนาคตภาพของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

นพมณี เชื้อวัชรินทร์
สมศิริ สิงห์ลพ
ศาณิตา ต่ายเมือง
ภาสกร ภักดิ์ศรีแพง
รุ่งทิพย์ ทิพย์เนตร
มันทนา เมฆิยานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้แบบจำลอง CIPP ควบคู่ไปกับกรอบคุณวุฒิการศึกษาไทย และมาตรฐาน AUN-QA (Version 4.0) ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด พร้อมกับใช้เทคนิค EFR เพื่อทำนายอนาคตภาพในการปรับปรุงหลักสูตร รวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วม 144 คน ผ่านแบบสอบถาม แบบสำรวจ และการสัมภาษณ์ ประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นิสิตและบัณฑิตที่จบการศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ และผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยเผยให้เห็นถึงการรับรู้โดยรวมเชิงบวกเกี่ยวกับประสิทธิผลของหลักสูตรในมิติต่าง ๆ ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP model) พบว่า ความคิดเห็นที่มีคะแนนสูงสุดคือ ด้านกระบวนการ (μ = 4.71, σ = 0.50) ตามด้วย ด้านบริบท (μ = 4.55, σ = 0.34), ด้านผลผลิต (μ = 4.48, σ = 0.57) และ ด้านปัจจัยนำเข้า (μ = 4.47, σ = 0.49) ผู้สำเร็จการศึกษาถึง 85.30 % มีเกรดเฉลี่ยสะสม ≥ 3.50 แสดงถึงประสิทธิภาพของหลักสูตรที่ประสบความสำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ของหลักสูตร นอกจากนี้ ความคิดเห็นโดยรวมของผู้สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการหลักสูตรภายใต้ เกณฑ์ AUN-QA (Version 4.0) อยู่ในระดับสูง (ระดับ 4: μ = 4.39, σ = 0.54) อนาคตภาพหลักสูตรที่ใช้เทคนิค EFR นั้นสามารถแบ่งภาพในอนาคตเป็น 3 ส่วน คือ ทางดี ทางร้าย และทางที่เป็นไปได้ที่สุด โดยข้อมูลทั้ง 3 ส่วนสามารถสรุปนำเสนอภาพอนาคตในประเด็นต่าง ๆ เป็น 4 ประเด็น ดังนี้ 1) การดำเนินงานหลักสูตรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และการผลิตบัณฑิตซึ่งควรคงสภาพไว้ 2) ปรับหลักสูตรให้มีความกระชับ สอดคล้องกับมาตรฐานแห่งชาติ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ จัดประสบการณ์จริงและบูรณาการเนื้อหาความรู้ศึกษาศาสตร์กับเทคโนโลยี 3) การจัดการหลักสูตรควรเน้นเพิ่มประสบการณ์การทำงาน แลกเปลี่ยนความรู้ เสริมสร้างการจัดการหลักสูตรแบบโมดูล ระบบธนาคารหน่วยกิต และระบบออนไลน์ ส่งเสริมโอกาสในการพัฒนาวิชาชีพและการวางแผนการวิจัยสำหรับนิสิต 4) กิจกรรมหลังสำเร็จการศึกษา ควรมีการติดตามผลเพิ่มเติมสร้างเครือข่ายระหว่างนิสิต อาจารย์ และศิษย์เก่า ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของหลักสูตร

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นพมณี เชื้อวัชรินทร์, จันทร์พร พรหมมาศ, สมศิริ สิงห์ลพ, ภคมน ทิพย์เนตร, มันทนา เมฆิยานนท์,

ภาสกร ภักดิ์ศรีแพง, วชิราภรณ์ ราชบุรี และศาณิตา ต่ายเมือง. (2558). การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาการสอนชีววิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(3), 77-91.

มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้

รัตติกาล สารกอง และไพศาล เอกะกุล. (2563). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(1), 463-472

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2552). “หลักสูตร” สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ASEAN University Network. (2020). ASEAN University Network Quality Assurance Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0, Bangkok: Chulalongkorn University.

Fidone, D. J. (1993). An Evaluation of a Secondary Science Program Using the Context Component of the CIPP Decision-Making Model. Dissertation Abstracts International. 54, 2038A-2039A.

Stufflebeam, D. L. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. lllinois:Peacock Publishers.

Stufflebeam, D. L., & Coryn, C. L. S. (2014). Evaluation theory, models, and applications (2nd ed.). Jossey-Bass/Wiley.

Textor, R. B. (1995). Ethnographic Future Research Method: An application in Thailand. Future. 27(4), 461-471.