ความผิดฐานเลือกปฏิบัติ

Main Article Content

ชนกานต์ สังสีแก้ว

Abstract

การเลือกปฏิบัติโดยมีมูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิดจากเหตุความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ ฯลฯ ระหว่างผู้กระทำความผิดกับผู้เสียหายเป็นการกระทำที่ลิดรอนสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เป็นการกระทำที่ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ เป็นเรื่องผิดกฎหมายและสมควรได้รับการลงโทษ เมื่อศึกษากฎหมายของประเทศไทยในส่วนการคุ้มครองการเลือกปฏิบัติ พบว่ากฎหมายของไทยไม่ครอบคลุมเพียงพอในยับยั้งการกระทำการเลือกปฏิบัติ และยังไม่คุ้มครองกรณีการเลือกปฏิบัติที่เกิดจากภาคเอกชน ทำให้ยังคงปรากฏการเลือกปฏิบัติให้เห็นในสังคมไทยการกำหนดให้การเลือกปฏิบัติเป็นความผิดทางอาญาจึงอาจเป็นทางเลือกสุดท้ายในการช่วยยับยั้งมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น บทความฉบับนี้จึงได้ศึกษาแนวทางการกำหนดความผิดฐานเลือกปฏิบัติของกฎหมายต่างประเทศ เพื่อนำเสนอแนวทางในการกำหนดบทบัญญัติและมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการนำมาใช้บังคับกับการกำหนดความผิดฐานเลือกปฏิบัติของประเทศไทย โดยปรับใช้ให้เหมาะสมเข้ากับบริบทและสถานการณ์การเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้น เพื่อการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมปัญหาการเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ปกป้อง ศรีสนิท . กฎหมายอาญาชั้นสูง . กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2559.

สารนิพนธ์

ณภัทร สรอัฑฒ์. “ความเหมาะสมในการกำหนดความผิดและโทษทางอาญา : ศึกษากรณีกฎหมายแข่งขันทางการค้า.” สารนิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

BOOK

Henry Campbell . Black . Black’s Law Dictionary. Nine Edition. U.S.A : WEST Thomson Reuter, 2009.