มาตรการทางอาญาในการแก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการ

Main Article Content

ภูษณ วิบูลย์มา

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตทางวิชาการกรณีการคัดลอกผลงานทางวิชาการซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เนื่องจากผู้คัดลอกผลงานทางวิชาการไม่ได้พัฒนาความรู้ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการจากการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำผลงานทางวิชาการ ยิ่งไปกว่านั้นการคัดลอกผลงานทางวิชาการยังส่งผลกระทบต่อผู้ที่ถูกคัดลอกผลงานซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของผลงาน และส่งผลกระทบต่อผู้ที่ถูกหลอกลวงจากการนำผลงานทางวิชาการที่เกิดจากการคัดลอกผลงานไปใช้หลอกลวงเพื่อแสวงหาประโยชน์ เช่น การนำผลงานทางวิชาการที่เกิดจากการคัดลอกผลงานไปใช้เพื่อเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา การขอตำแหน่งทางวิชาการหรือตำแหน่งอื่น การขอเลื่อนวิทยฐานะ การขอให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินอื่นในระดับที่สูงขึ้น หรือการนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์อื่น เพราะฉะนั้นจากปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวการคัดลอกผลงานทางวิชาการจึงเป็นปัญหาสำคัญที่สมควรได้รับการแก้ไขภายใต้แนวความคิดว่าจะสามารถนำมาตรการทางอาญามาใช้แก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการได้หรือไม่อย่างไร และผู้คัดลอกผลงานทางวิชาการจะต้องมีความรับผิดทางอาญาหรือไม่เพียงใด


ตามปัญหาดังกล่าว บทความนี้ใช้วิธีการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกรณีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ ศึกษาถึงสภาพปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการคัดลอกผลงานทางวิชาการ ประกอบกับการศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบันที่ใช้บังคับกับกรณีการคัดลอกผลงานทางวิชาการว่ามาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการแก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับการดำเนินการในต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผลและความจำเป็นในการนำมาตรการทางอาญามาใช้แก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการ โดยการกำหนดความผิดอาญาฐานคัดลอกผลงานทางวิชาการสำหรับประเทศไทยอย่างเหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิด


จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่าการคัดลอกผลงานทางวิชาการเป็นการกระทำที่น่าตำหนิ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น และไม่มีมาตรการอื่นที่เหมาะสมกว่าการใช้มาตรการทางอาญา ดังนั้น จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวบทความนี้จึงเสนอให้นำมาตรการทางอาญามาใช้สำหรับการแก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการในประเทศไทย รวมไปถึงเสนอมาตรการอื่นที่จะช่วยส่งเสริมการใช้มาตรการทางอาญาในการแก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อนำแนวทางดังกล่าวมาใช้แก้ไขปัญหาการทุจริตทางวิชาการกรณีการคัดลอกผลงานทางวิชาการในประเทศไทยให้ประสบผลสำเร็จต่อไป

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

กัญจนา บุณยเกียรติ และประไพพิศ มงคลรัตน์, การลักลอกผลงานทางวิชาการและวรรณกรรม (Plagiarism) (พิมพ์ครั้งที่ 2, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2556).

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (เล่ม 1) (พิมพ์ครั้งที่ 11, พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย) 2562).

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (เล่ม 2) (พิมพ์ครั้งที่ 11, พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย) 2562).

คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2560).

จุมพล ภิญโญสินวัฒน์ และภูมินทร์ บุตรอินทร์, ประวัติศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2561).

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และรณกรณ์ บุญมี, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ (พิมพ์ครั้งที่ 18, วิญญูชน 2564).

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และรณกรณ์ บุญมี, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 23, วิญญูชน 2564).

ปกป้อง ศรีสนิท, กฎหมายอาญาชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2563).

ปริญญา ดีผดุง, หลักกฎหมายลิขสิทธิ์และบทวิเคราะห์ (สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2563).

ศักดิ์ สนองชาติ, คำอธิบายนิติกรรมและสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 10, นิติบรรณการ 2551).

อุททิศ แสนโกศิก, กฎหมายอาญาภาค 1.

ภาษาต่างประเทศ

Byan A Garner, Editor in Chief, Black’s Law Dictionary (Tenth edition. USA: Thomson Reuters 2014).

Jacques Hallak and Muriel Poisson, Corrupt Schools, Corrupt Universities: What Can be Done? (Paris: International Institute for Education Planning, 2007)

John Stuart Mill, ON LIBERTY (4th edn, Longmans, Green, Reader And Dyer 1869).

Simester A and von Hirsch A, Crimes, Harms and Wrongs: on the Principles of Criminalisation (Hart 2011).

บทความ

ภาษาไทย

รณกรณ์ บุญมี, ‘The criminal law as the ultima ratio : the principle that needs a qualification กฎหมายอาญาต้องเป็นวิถีทางสุดท้าย : หลักการที่ต้องปรับปรุง’ ใน อานนท์ มาเม้า (บรรณาธิการ) นิติธรรมประจักษ์ สุรศักดิ์ 60 ปี (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2561).

ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ‘สิทธิในศิลปกรรมของศิลปิน’ (2505) 20 บทบัณฑิตย์.

ภาษาต่างประเทศ

Brian L Frye, ‘Plagiarism is Not a Crime’ (2016) 54 Duquesne Law Review 133.

Collins, M.E. & Amodeo, ‘M. Responding to plagiarism in schools of social work: considerations and recommendations’(2005) 41 Journal of Social Work Education 3.

Nils Jareborg, ‘Criminalization as Last Resort (Ultima Ratio)’ 2 Ohio State Journal of Criminal Law 521.

Robinson PH, ‘The criminal-civil distinction and the utility of desert’ (1996) 76 Boston University Law Review 201.

Steven D Levitt and Thomas J Miles, “Empirical study of criminal punishment” in A.Mitchell Polinsky and Steven Shavell, Handbook of Law and Economics (Elsevier 2007) 1

Stuart P Green, ‘Plagiarism, Norms, and the Limits of Theft Law: Some Observations on the Use of Criminal Sanctions in Enforcing Intellectual Property Rights’ (2002) 1 Hastings Law Journal.

Sutherland-Smith, W. Academic perceptions of student plagiarism in writing, Pandora’s box. Journal of English for academic purposes 4 (2005).

วิทยานิพนธ์

ภาษาไทย

เมษยา โรจนอารีย์, ‘การฉ้อฉลทางวิชาการ : ศึกษาการกำหนดความผิดอาญาฐานรับจ้างทำวิทยานิพนธ์’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559).

อมรา ทรัพย์ไพศาล, ‘ธรรมสิทธิของผู้สร้างสรรค์’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2531).

รายงานผลการวิจัย

ภาษาไทย

ภูมินทร์ บุตรอินทร์, ‘โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง รัฐกับแนวทางการบังคับสิทธิในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ : ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส’ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2554).

เอกสารอื่น ๆ

ภาษาไทย

สุวิมล ว่องวาณิช และวิไลวรรณ ศรีสงคราม, ‘การลอกเลียนงาน (Plagiarism)’ (เอกสารประกอบการประชุมที่จัดโดยสำนักงานสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วันที่ 16 มิถุนายน 2553)

ภาษาต่างประเทศ

Miguel Roig, ‘Avoiding Plagiarism, Self-plagiarism, and Other Questionable Writing Practices: A Guide to Ethical Writing’ (U.S. Department of Health and Human Services, Office of Research Integrity) <https://ori.hhs.gov/avoiding-plagiarism-self-plagiarism-and-other-questionable-writing-practices-guide-ethical-writing> สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565.