ปัญหาของผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

Main Article Content

เพียรรัตน์ ลีลาพงศธร

Abstract

จากการศึกษาถึงอำนาจการฟ้องคดีของผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พบว่ามีปัญหาสำคัญ 2 ประการ ปัญหาประการแรก คือ ปัญหาของความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีบทบัญญัตินี้ เพราะหากไม่มีบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายที่แท้จริงซึ่งสมรสแล้วและมีฐานะเป็นภริยาก็ยังคงเหมือนเดิมไม่แปรเปลี่ยนไปแต่อย่างใด ส่วนมาตรา 4 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แม้ว่าวรรคนี้ ในอดีตจะเคยมีความสำคัญมาก เนื่องจากก่อนที่จะมีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีกันได้เช่นในปัจจุบันนี้ หญิงมีสามีไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินคดีอาญาแทนตนได้เลยนอกจากสามีของตน เพราะศาลฎีกาเคยวางหลักว่าผู้เสียหายไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีแทนตนได้ แต่เมื่อศาลฎีกากลับหลักเดิมและวางหลักใหม่ว่า ผู้เสียหายสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีแทนได้ มาตรา 4 วรรคสองก็หมดความสำคัญลงไป


ปัญหาประการที่สอง คือ บทบัญญัติมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน เนื่องจากมีลักษณะของบทบัญญัติที่ไม่เสมอภาคและเป็นการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นบทบัญญัติที่สะท้อนให้เห็นความคิดที่ไม่เท่าเทียมมาตั้งแต่แรกว่า ผู้ชายสามารถฟ้องคดีอาญาได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว จึงไม่ต้องมีบทบัญญัติใด ๆ เพื่อรับรองหรือยืนยันว่ามีสิทธิ แต่ในทางกลับกันสำหรับผู้หญิงกลับไม่เป็นเช่นนั้น อีกทั้ง ในมาตรา 4 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  ก็ให้อำนาจเฉพาะกรณีสามีเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนภริยาได้เท่านั้น ส่วนภริยาไม่มีอำนาจจัดการแทนสามีหากมีการกระทำความผิดต่อสามีเกิดขึ้นได้


จากผลการศึกษาข้างต้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะให้ยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 4 ทั้งสองวรรค ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อย่างไรก็ตาม หากไม่ยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผู้เขียนขอเสนอให้แก้ไขบทบัญญัติให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียม โดยให้ใช้คำว่า “คู่สมรส” แทนคำว่า “หญิงมีสามี” “หญิง” “สามี” และ”ภริยา”  


 

Article Details

Section
Articles

References

บรรณานุกรม

หนังสือ

ภาษาไทย

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการดำเนินคดีในขั้นตอนก่อนการพิจารณา (พิมพ์ครั้งที่ 7, พลสยาม พริ้นติ้ง 2553).

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, หลักกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปเกี่ยวกับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2551).

คณิต ณ นคร, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 8, วิญญูชน 2555).

คนึง ฦาไชย, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 11, วิญญูชน 2561).

จุมพต สายสุนทร, กฎหมายระหว่างประเทศ (เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 10, วิญญูชน 2555).

ชาติ ชัยเดชสุริยะ, มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2549).

ณรงค์ ใจหาญ, หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 13, วิญญูชน 2563).

ปกป้อง ศรีสนิท, สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (วิญญูชน 2563).

โลว์ วอน, กฎหมายระหว่างประเทศ: ความรู้ฉบับพกพา (ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ผู้แปล, บุ๊คสเคป 2561).

หยุด แสงอุทัย, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาศึกษาทางคำพิพากษาฎีกา (โรงพิมพ์แม่บ้านแม่เรือน 2507).

อัจฉรา ฉายากุล และคณะ, พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา 2546).

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, สิทธิมนุษยชน (วิญญูชน 2555).

อุทัย อาทิเวช, คู่มือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 2 สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา (วี.เจ.พริ้นติ้ง 2554).

ภาษาต่างประเทศ

Anne Hellum and Henriette Sinding Aasen, ‘Introduction’ in Anne Hellum and Henriette Sinding Aasen (ed) Women’s Human Rights: CEDAW in international, regional, and national law (Cambridge University Press 2015).

Sarah Joseph and Melissa Castan, The International Covenant on Civil and Political Rights: Cases, Materials, and Commentary (Third Edition, Oxford University Press, 2013).

U.S. Department of Homeland Security, ‘International Human Rights Law’ (RAIO Directorate – Officer Training, U.S. Citizenship and Immigration Services 2019).

บทความ

ภาษาไทย

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘การตีความกฎหมายที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญตามกฎหมายเยอรมัน’ (2565) 78 บทบัณฑิตย์ 150.

ภาษาต่างประเทศ

Hurst Hannum, ‘The Status of the Universal Declaration of Human Rights in National and International Law’ (1996) 25 Georgia Journal of Internation and Comparative Law 289.

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

ภาษาต่างประเทศ

Jane Stratton, ‘Hot Topics: Human rights’ <https://legalanswers.sl.nsw.gov.au/hot-topics-human-rights/human-rights-un-declarations-and-resolutions#:~:text=Most%20commentators%20agree %20that%20the,are%20outside%20the%20treaty%20system> สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2567.

อื่น ๆ

ภาษาไทย

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ‘สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ (ศึกษารูปแบบการจำกัดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญให้ไว้อย่างเหมาะสม)’ (รายงานวิจัยเสนอคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย 2538).

ธีระ สุธีวรางกูร, ‘คำวินิจฉัยและผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ’ (รายงานวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559).