ความผิดเกี่ยวกับเพศ: ศึกษากรณีการหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอม
Main Article Content
Abstract
ในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยในปัจจุบัน ถุงยางอนามัยเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันทางเพศอย่างหนึ่งที่บุคคลทั่วไปมักเลือกใช้ เนื่องจากประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันผลกระทบอันอาจเกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุม ทั้งจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และจากการติดโรคติดต่อทางเพศ อีกทั้งยังเป็นมาตรการที่มีผลกระทบน้อยและสามารถกระทำได้โดยง่าย การใช้ถุงยางอนามัยจึงเป็นมาตรการป้องกันทางเพศที่ได้รับการยอมรับจากสังคม อย่างไรก็ดี แม้ว่าถุงยางอนามัยจะมีประโยชน์ในการทำให้การมีเพศสัมพันธ์เป็นไปโดยปลอดภัย แต่ในการมีเพศสัมพันธ์ของบุคคลกลับเกิดการหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมขึ้น ซึ่งการหลอกลวงนี้ส่งผลให้ผู้อื่นตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายมากขึ้น และเมื่อในการมีเพศสัมพันธ์คู่กรณีได้ตกลงยินยอมกันไว้ในเงื่อนไขว่าจะต้องกระทำโดยใช้ถุงยางอนามัยเท่านั้น เมื่อคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันโดยไม่แจ้งหรือปกปิดข้อมูลเท็จจริงไม่ให้อีกฝ่ายทราบ เพื่อไม่ให้คู่กรณีฝ่ายที่ร้องขอเงื่อนไขการใช้ถุงยางอนามัยได้มีโอกาสปฏิเสธ ย่อมทำให้เกิดข้อถกเถียงว่ากรณีถือว่าการมีเพศสัมพันธ์นั้นกระทำลงโดยได้รับความยินยอมหรือไม่
โดยเมื่อพิจารณาแนวคิดทฤษฎี กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยงข้อง เห็นว่า ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา และมาตรา 278 ความผิดฐานกระทำอนาจาร ทั้งสองกรณีบัญญัติยอมรับความไม่ยินยอมเพียงสี่กรณีคือ “โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น” เท่านั้น อันเป็นการยอมรับความยินยอมอย่างจำกัด ทำให้การกระทำที่ทำลงโดยปราศจากความยินยอมก็อาจไม่เป็นความผิดตามกฎหมายได้ หากไม่ใช่การกระทำลักษณะในใดลักษณะหนึ่งที่กฎหมายยอมรับ ซึ่งจากการศึกษาการหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมในต่างประเทศพบว่า ในขณะที่บางประเทศมีคำพิพากษาวางแนวทางทางกฎหมายไว้ แต่บางประเทศ เช่นประเทศสิงคโปร์และประเทศออสเตรเลียแก้ไขปัญหา โดยแก้ไขบทกฎหมายเพิ่มเติมการกระทำโดยหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมว่าเป็นการกระทำที่มีความผิดอันทำให้กฎหมายมีความชัดเจนแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ให้ยอมรับการหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมเป็นรูปแบบการกระทำที่ผู้ถูกกระทำไม่ยินยอมแก่การกระทำ โดยกำหนดให้เป็นความผิดอีกฐานความผิดหนึ่ง และกำหนดนิยามของถุงยางอนามัย เพื่อให้กฎหมายมีความชัดเจนแน่นอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
บรรณานุกรม
หนังสือ
ภาษาไทย
คณพล จันทร์หอม, คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม1 (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2564).
ณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา, คำธิบายวิชานิติกรรม-สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 1, ธนอรุณการพิมพ์ 2565).
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และรณกรณ์ บุญมี, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ โทษ (พิมพ์ครั้งที่ 19, วิญญูชน 2565).
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 22, วิญญูชน 2561).
สหรัฐ กิติ ศุภการ, กฎหมายอาญา : หลักและคำพิพากษา (พิมพ์ครั้งที่ 9, อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง 2562).
วิทยานิพนธ์
ภาษาไทย
กมลชัย รัตนสกาววงศ์, ‘ความยินยอมในกฎหมายอาญา’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2523).
คำพิพากษา
ภาษาไทย
คำพิพากษาฎีกาที่ 828/2508.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2557.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10007/2557.
ภาษาอังกฤษ
R v Williams [1923] 1 KB 340.
บทความ
ภาษาไทย
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์ และคณะ, ‘ความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์เสี่ยงในการใช้ถุงยางอนามัยกับความสนใจใช้ยาต้านไวรัสป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวีในกลุ่มพนักงานบริการหญิง’ (2564) 1 วารสารโรคเอดส์< https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/253223/173 765 > สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2565.
ภาษาต่างประเทศ
Alexandra Brodsky, ‘Rape-Adjacent: Imaging Legal Responses to Nonconsensual Condom Removal’ (2017) 32 Columbia Journal of Gender and Law <https://heinonline.org/HOL /PDFsearchable?handle=hein.journals/coljgl32&collection=journals§ion=11&id=&print=section§ioncount=1&ext=.pdf&nocover=&display=0> สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565.
Kimmy Khanh Nguyen, Cody Weeks and Douglas Stenstrom, ‘Investigating the Effect of Stealthing Justification on rape Perceptions’ (2021) สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2566.
Mikaela Shapiro, ‘Yes, “Stealthing” is sexual assult..and we need to address it’ (2021) 37 Touro Law Review 1643 <https://digitalcommons.tourolaw.edu/cgi/viewcontent.cgi?article =3346&context=lawreview> สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2565.
อื่นๆ
ภาษาไทย
Khaosod, ‘เซลส์สาวเพื่อนร่วมงานหลอกถอดถุงยางตั้งท้อง วิวาห์3วัน ผู้หญิงโผล่บ้าน’ (khaosod, 24 พฤศจิกายน 2563) <https://www.khaosod.co.th/special-stories/news _5392372> สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2565.
สมรรจน์ ลิ้มมหาคุณ, ‘คุยเฟื่องเรื่อง “ถุงยางอนามัย”’(samitivejhospitals, 06 กุมภาพันธ์ 2563) <https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2> สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2565.
สุระ โฉมแฉล้ม, ‘ช่วงตั้งครรภ์ ปัญหาสุขภาพที่คุณแม่พบบ่อย’ (Paolohospital, 27 กรกฎาคม 2565 ) <https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/ช่วงตั้งครรภ์-ปัญหาสุขภาพที่คุณแม่พบบ่อย> สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2566.
ภาษาต่างประเทศ
Brianna Chesser, ‘In an Australian first, stealthing is now illegal in the ACT. Could this set a precedent for the country?’ (theconversation, 2021) <https://theconversation.com/in-an-australian-first-stealthing-is-now-illegal-in-the-act-could-this-set-a-precedent-for-the-country-169629> สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2566.
Brianna Chesser, ‘New Zealand’s first successful ‘stealthing’ prosecution leads the way for law changes in Australia and elsewhere’ (theconversation, 28 April 2021) สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565.
Gesley,Jenny, ‘Switzerland: Federal Supreme Court Holds ‘Stealthing’ Not Punishable as Sexual Act with Persons Incapable of Judgement or Resistance’ (loc, 2022) <https://www.loc.gov /item/global-legal-monitor/2022-07-13/switzerland-federal-supreme-court-holds-stealthing-not-punishable-as-sexual-act-with-persons-incapable-of-judgement-or-resistance/> สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566.
Harry Frost, ‘Bill to criminalise stealthing, removing a condom during sex without consent, to be considered in ACT’ (abc, 2021) <https://www.abc.net. au/news/2021-04-22/stealthing-bill-criminalise-condom-removal-sex-consent/1000857 04 > สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2566.
Joan Cook, ‘Stealthing is assault, a betrayal with potentially long-lasting consequences’ (thehill, 24 May 2017) <https://thehill.com/blogs/pundits-blog/health care/334907-stealthing-is-assault-a-betrayal-with-potentially-long-lasting/> สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2565.
Katie Harris, ‘Man sentenced to jail for rape after removing condom without consent’ (nzherald,
เมษายน 2564) <https://www.nzherald.co.nz/nz/man-sentenced-to-jail-for-rape-after-removing-condom-without-consent/NVRGH4GJNZLIEKSENRID UHZ JMI/> สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565.
Leila Ettachfini, ‘Man Accused of ‘Stealthing’ Will Not Be Convicted of Rape’ (vice, 10 May 2017) <https://www.vice.com/en/article/7xz89q/man-accused-of-stealthing-will-not-be-convicted-of-rape> สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566.
Matthew Robinson, ‘Police officer found guilty of condom ‘stealthing’ in landmark trail’ (cnn, 20 December 2018) <https://edition.cnn.com/2018/12/20 /health/stealthing-germany-sexual-assault-scli-intl/index.html> สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566.
Rebecca Staudenmaier, ‘Germany: Woman sentenced after sabotaging partner's condoms’ (dw,
May 2022) <https://www.dw.com/en/germany-woman-sentenced-for-poking-holes-in-partners-condoms/a-61689670> สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2565.
Reuter Staff, ‘Swiss court upholds sentence in ‘stealthing’ condom case’ (reuters, 9 May 2017) <https://www.reuters.com/article/us-swiss-stealthing-idUSKBN 1851UN> สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566.
Sheri Jacobson, ‘The Psychological Effect of Stealthing- Yes, It’s a Big Deal’ (Harley Therapy Counselling Blog, 15 July 2021) <https://www.harleytherapy.co.uk/counselling/stealthing-assault.htm> สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2565.