มาตรการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงพันธุกรรม ศึกษาปัญหากฎหมายไทย

Main Article Content

วนิดา สัตยาพันธ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหามาตรการทางกฎหมายในการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically  Modified  Food  : GMF.)  ของไทย โดยให้ความสำคัญถึงประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้มาจากหรือมีส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายที่ไม่ขัดกับมาตรการการค้าเสรีในปัจจุบัน


            จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อการคุ้มครองสิทธิการรับรู้ของผู้บริโภคตั้งแต่
ปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมาปรากฏตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 251)
เรื่องการแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม  พ.ศ. 2545  ซึ่งประกาศกระทรวง ฯ ฉบับนี้ยังมีเนื้อหาสาระและมาตรการที่ไม่ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงพันธุกรรมทุกประเภท เนื่องจากกำหนดให้ใช้บังคับเฉพาะกับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากถั่วเหลือง และข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมเท่านั้น โดยต้องมีปริมาณการปนเปื้อนของสารดัดแปลงพันธุกรรมอยู่ในสามอันดับแรกของส่วน


ประกอบของผลิตภัณฑ์ และยังเป็นการกำหมดปริมาณการปนเปื้อนไว้ในอัตราที่สูงเกินไป คือ  5% ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์จึงส่งผลให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายที่จะใช้บังคับ
กับผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงพันธุกรรมที่มีการปนเปื้อนสารพันธุกรรมในส่วนประกอบ
ที่อยู่ในลำดับที่สี่เป็นต้นไป หรือในกรณีที่มีการปนเปื้อนในปริมาณที่ต่ำกว่า 5% ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ได้รับการติดฉลาก นอกจากนี้
ตามประกาศกระทรวง ฯ ยังมิได้มีการนิยามความหมายของ “อาหารดัดแปลงพันธุกรรม”  ว่ามีความหมายรวมถึงสิ่งใดบ้าง จึงอาจก่อเกิดความสับสนต่อผู้บริโภคได้


ดังนั้นผู้เขียนจึงได้ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงแก้ไขและกำหนดแนวทางหรือมาตรการบังคับการติดฉลากอาหารดัดแปลงพันธุกรรมให้เกิดความครอบคลุม และสอดคล้องกับมาตรการสากล  โดยการกำหนดนิยามของ “สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม” และ “อาหารดัดแปลงพันธุกรรม” ให้มีความชัดเจนสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค และกำหนดหลักเกณฑ์การบังคับให้ติดฉลากผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงพันธุกรรมในระดับที่มีการปนเปื้อนตั้งแต่ 1% ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์ของแต่ละส่วนประกอบ  โดยกำหนดให้บังคับใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมชนิดอื่น นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจาก หรือ
มีส่วนประกอบของถั่วเหลืองและข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมด้วย เนื่องจากปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรมและถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร เพื่อจำหน่ายตามท้องตลาดจำนวนมาก และเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเลือกซื้อถึงแม้ว่าการกำหนดมาตรการที่มีลักษณะเข้มงวดมากขึ้นเช่นนี้ จะนำไปสู่การมุ่งคุ้มครองสิทธิการรับรู้ของผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพแต่ต้องมีการวางหลักเกณฑ์การปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือต้นทุนแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการมากจนเกินไป

Article Details

บท
Articles

References

หนังสือ

กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร. ระเบียบสหภาพยุโรปฉบับใหม่เกี่ยวกับ GMOs : แนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ . สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , 2547.
จุฑาพันธ์ พิณสวัสดิ์ และ ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ . ความปลอดภัยด้านอาหารและสินค้า
ดัดแปรพันธุกรรม : โครงการนโยบายสาธารณะเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารและเศรษฐกิจการค้าที่ยั่งยืน . พิมพ์ครั้งที่ 1 . คณะเศรษฐศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

วิทยานิพนธ์

นุจรีย์ แก้วปาน. “พืชดัดแปลงพันธุกรรมกับกฎเกณฑ์ทางการค้าขององค์การ
การค้าโลก.”, วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2548.
ธัญชนก คงเด่นฟ้า. “พันธกรณีของประเทศไทยเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยทาง
ชีวภาพ ภายใต้พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความความปลอดภัยทางชีวภาพตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ.1999.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “Food Allergy ภูมิแพ้อาหาร.”, 29 พฤศจิกายน 2556.
http://www.ifrpd-foodallergy.com/index.php/th/news/210-gmo , 15 พฤษภาคม 2560.
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศฯ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. . “ชี้ ฉลาก GMO มะกัน เปิดช่อง QR Code-ไร้ข้อความกำกับ อาจปิดกั้นผู้บริโภค....” สรุปโดย : มกอช. (3 ตุลาคม 2559). http://www.acfs.go.th/warning/ viewNews.php?id=5514 , 28 ธันวาคม 2559.