การพัฒนารูปแบบการจัดการร้านค้าแบบยั่งยืนของชุมชนอำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

กนกวรรณ บั้งทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการร้านค้าชุมชนแบบยั่งยืน
ของชุมชนอำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกร้านค้าชุมชนและผู้ที่
เกี่ยวข้องหรือทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาร้านค้าชุมชนในพื้นที่ชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 677 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์
แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ในการจัดการร้านค้าชุมชนในพื้นที่อำเภอพนา แยกเป็น 4 ด้าน
คือ บุคลากร การดำเนินงานของกลุ่ม การจัดการร้านค้าชุมชน ทุนทางสังคม ได้แก่ การสนับสนุนจากประชาชน กฎ ระเบียบ และมีคณะกรรมการรับผิดชอบ องค์ประกอบที่เหมาะสมของรูปแบบ ประกอบด้วย5 องค์ประกอบ 17 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ปัจจัยสนับสนุน มี 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ภาวะผู้นำสมาชิก ความช่วยเหลือขององค์กรภายนอก และทุนทางสังคม 2) การบริหารองค์กร มี 4 ตัวบ่งชี้
ได้แก่ เงินทุนการจัดการด้านสินค้าราคาสินค้า และการบริการ 3) รูปแบบของร้านค้าชุมชน
มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ รูปแบบของร้านค้า ทำเลที่ตั้ง ความตระหนักในภาวะคุกคามจากการค้าเสรี
4 ) การจัดการร้านค้าชุมชน มี 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ เป้าหมายการจัดการร้านค้าการควบคุมการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของสมาชิก 5) ผลลัพธ์/ความยั่งยืนมี 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ผลที่เกิดต่อสมาชิก
และเกิดต่อชุมชนโดยองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการจัดการร้านค้าชุมชนมี
ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกตัว ตัวแปรมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทุกคู่องค์ประกอบ
มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการประเมินรูปแบบด้วยการทดลองใช้ พบว่า
สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ