การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าย้อมคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผ้าย้อมครามใน 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์
การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูล ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผ้าย้อมคราม โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คนสัมภาษณ์เชิงลึกสมาชิก
กลุ่มทอผ้าย้อมคราม 4 คนขั้นตอนที่ 2 ร่างและทดลองใช้รูปแบบ โดยจัดสนทนากลุ่มแล้วนำร่าง
รูปแบบไปทดลองในกลุ่มที่เริ่มก่อตั้ง ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ จาก
ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการ
ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าย้อมคราม พบว่า มีการรวบรวมและจัดแสดงความรู้ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชน การวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าย้อมคราม
1) หลักการ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ อย่างเป็นระบบ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อให้สมาชิก
กลุ่มพัฒนาตนเองในการจัดการความรู้ 3) มีกระบวนการจัดการความรู้ 5 ขั้นตอน คือ (1) การบ่งชี้
ความรู้ (2) การแสวงหาความรู้ (3) การจัดเก็บความรู้ (4) การแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้
(5) การประยุกต์ใช้ความรู้ และ 4) มีเงื่อนไขความสำเร็จ คือ (1) การมีภาวะผู้นำ (2) วัฒนธรรมองค์กร ผลของการทดลองรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าย้อมคราม ในกลุ่ม
ที่เริ่มก่อตั้ง จำนวน 16 คน มีความพึงพอใจ ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.56 ผลการ
การประเมิน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.81 และ 4.77 ตามลำดับ