รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักปัญญา 3 ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สุกฤษฎิ์ มายุศิริ

บทคัดย่อ

ตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ
ตามหลักปัญญา ๓ ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้เชี่ยวชาญทางหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จำนวน ๑๕ รูป/คน การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถามกับผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติหน้าที่งานวิชาการ จำนวน ๒๖๙ คน
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ประมวลผล และนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า
รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักปัญญา ๓ ของโรงเรียน
ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ออกเป็น ๕ ด้าน ๓ ปัจจัย มีส่วนร่วม โอกาส คุณภาพ หรือเรียกโดยย่อว่า CLTAM MODEL สามารถอธิบายได้ ดังนี้
๑. ด้านหลักสูตร (Curriculum) รู้เข้าใจการจัดทำหลักสูตรคิดออกแบบพัฒนาหลักสูตร
นำสู่การปฏิบัติเรียนรู้เข้าใจตามความถนัดและสนใจวิชาการ วิชาชีพ วิชาชีวิตปฏิบัติ
อย่างเท่าเทียมเสมอภาคความรู้เหมาะสมกับเพศและช่วงวัยมีคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒. ด้านการเรียนการสอน (Learning & Teaching) ร่วมเรียนรู้ ร่วมปฏิบัติ
ร่วมรับผิดชอบออกแบบการเรียนรู้,ลีลาการเรียนรู้ (Style) เรียนรู้โดยการปฏิบัติและด้วยตนเอง เรียนรู้ เข้าใจ เข้าถึงหลักสูตรแผนการเรียนรู้,เทคนิคการสอนวิชาการ อาชีพ ทักษะชีวิต ปฏิบัติการวัดผลอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย ผู้เรียนรู้ได้ความรู้อย่างสนุกมีความสุขอยู่ร่วมกับผู้อื่น ครูมีจิตวิญญาณ นักเรียนมีแรงบันดาลใจความรู้คงทนถาวรชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๓. ด้านเทคโนโลยี (Technology) ศึกษาเรียนรู้และเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี
คิดและสร้างนวัตกรรมจากที่เรียนรู้ได้ คิดเป็น แก้ปัญหาได้จากเทคโนโลยี ปฏิบัติด้วยตนเอง ทำให้ได้ความรู้เชิงประจักษ์ ชัดเจน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
รู้และเข้าใจเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยี
ที่ทันสมัยในระดับหนึ่งอย่างเท่าเทียม คิดและพัฒนาเทคโนโลยีให้เข้าบริบท ปฏิบัติด้วยตนเอง
จนเห็นผลเชิงประจักษ์ชัดเจนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ รู้เท่าทันเทคโนโลยี แยกแยะได้ว่าเทคโนโลยีใด เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละช่วงวัย คิดพัฒนาต่อยอดจากความรู้ที่ได้ ปฏิบัติ
ตรงตามสมรรถนะการใช้เทคโนโลยี เพื่อการสื่อสารของหลักสูตรได้
๔. ด้านวัดและประเมินผล (Assessment & Evaluation) รู้และเข้าใจในการวัดผลและประเมินผลตามสภาพความเป็นจริง (Authentic Assessment) ให้ครอบคลุมพุทธวิสัย
จิตพิสัย ทักษะพิสัย ปฏิบัติการวัดและประเมินผลอย่าง มีระเบียบ มีหลัก มีเกณฑ์ ถูกต้องเหมาะสม
สามารถอธิบายในการวัดและประเมินผลได้วัดประเมินผลอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย ปฏิบัติ
การวัดให้เที่ยงตรงเป็นธรรมคงเส้นคงวา รู้และเข้าใจนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การศึกษาต่อทั้งวิชาการ วิชาชีพ วิชาชีวิต ปฏิบัติประยุกต์และนำไปประกอบอาชีพได้
๕. ด้านบริหารจัดการ (Management) มีส่วนร่วมอย่างจริงใจ ปฏิบัติอย่างจริงจัง เจาะจงคุณภาพตรงสู่ผู้เรียน เข้มแข็งเข็มข้น คิดกระบวนการเรียนใช้เทคโนโลยี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เข้าใจในสังคมการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพลงมือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ตามบันทึก
ข้อตกลง MOU (Memorandum of Understanding) ทุกระดับ ประกัน คุณภาพ ความปลอดภัย โอกาส มองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี มีคุณธรรม คิดใหญ่ เริ่มเล็ก ทำลึก กิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำ
ร่วมบริหารจัดการ นำทางด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเป็นฐาน ประสานชุมชน
มุ่งตรงหลักธรรมมาภิบาล พัฒนาอย่างมีส่วนร่วมคิด แก้ปัญหาบนฐานของการวิจัย ใส่ใจ
มุ่งผลสัมฤทธิ์ มุ่งคุณภาพชีวิตผู้เรียน บริหารจัดการ วิชาการสู่ความเป็นเลิศ มุ่งคุณภาพ
ความยั่งยืน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อตนเองในการยกระดับสติปัญญา

Article Details

บท
บทความวิชาการ