การพัฒนารูปแบบการสังเกตการจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้นิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ชูชัย ประดับสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการสังเกตการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเก็บข้อมูลโดยตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 756 คน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการสังเกตการจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้นิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คนประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสังเกตการจัดการเรียนรู้ และ 4) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบการสังเกตการจัดการเรียนรู้ กับตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 โรงเรียน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) แบบทดสอบ 4) แบบประเมินทักษะ 5) แบบวัดเจตคติ 6) แบบประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และ การทดสอบค่าที่ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีปัญหาเกี่ยวกับการสังเกตการจัดการเรียนรู้ในด้านลักษณะบริบททางกายภาพ พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และด้านบรรยากาศในชั้นเรียน มีปัญหาอยู่ในระดับมาก และ มีความต้องการพัฒนาการสังเกตการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการสังเกตการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้นิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สร้างขึ้นมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) ประเด็นการสังเกต (4)การพัฒนาผู้สังเกต (5) กระบวนการสังเกตการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (POEK) มี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ร่วมคิดร่วมวางแผนการสังเกตการจัดการเรียนรู้ (Planning) ขั้นที่ 2 ร่วมสังเกตการจัดการเรียนรู้ (Observation) ขั้นที่ 3 ร่วมประเมินและสะท้อนผล (Evaluation and Reflex) ขั้นที่ 4 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) (6) เครื่องมือสังเกตการจัดการเรียนรู้ (7) ผู้สังเกต ผู้รับการสังเกต ส่วนคู่มือการใช้รูปแบบและคู่มือการพัฒนา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบ ผู้นิเทศภายในมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับการสังเกตการจัดการเรียนรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) สำหรับผลการประเมินการใช้รูปแบบ ด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้นิเทศภายในมีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ