รูปแบบการสอบอารมณ์กลุ่มเพื่อการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนการให้การปรึกษากลุ่มตามแนวจิตวิทยาโดยนำทฤษฎีการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ มีเป้าหมายวิเคราะห์ช่วยให้คนไข้เกิดการหยั่งรู้และนำไปสู่กระบวนการให้การปรึกษากลุ่มตามแนวจิตวิทยาโดยนำทฤษฎีการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ มีเป้าหมายวิเคราะห์ช่วยให้คนไข้เกิดการหยั่งรู้และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพพื้นฐาน มีกระบวนการบำบัด 3 ระดับ คือ 1) แบบคลาสสิค 2) แนวจิตบำบัด 3) บำบัดด้วยการสนับสนุน มีเป้าหมาย เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ หรือเพื่อปรับแก้ไขระบบบุคลิกภาพพื้นฐานของผู้รับบริการ เพื่อทำให้สภาพปัญหาลดน้อยลง โดยการนำสิ่งที่ถูกเก็บกดไว้ในระดับจิตไร้สำนึก ซึ่งได้แก่ ความคิด ความรู้สึก ความทรงจำที่เก็บกดเอาไว้นั้น ให้ขึ้นมาปรากฏในระดับจิตสำนึกทักษะการให้การปรึกษากลุ่มตามแนวจิตวิทยาเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ให้การปรึกษาที่ต้องพัฒนาและฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ เพื่อช่วยให้สามารถค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหานั้นได้ส่วนรูปแบบการสอบอารมณ์กลุ่มเพื่อการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาสำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมีขั้นตอนการให้การปรึกษาเป็นไปตามอริยสัจ 4 เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาได้พัฒนาตนเองในการแก้ไขปัญหาโดยใช้วิธีการปฏิบัติตามแนวทางมรรค คือการดำเนินชีวิตตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยผู้ให้การปรึกษาเป็นกัลยาณมิตรชี้แนวทางให้แก่ผู้รับการปรึกษามีรูปแบบการสอบอารมณ์กลุ่มเพื่อการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาสำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยบูรณาการการให้การปรึกษาเชิงพุทธและการให้การปรึกษาตามแนวจิตวิทยา ประกอบด้วย 1. เป้าหมายของการปรึกษา 2. คุณลักษณะผู้ให้การปรึกษา 3. หลักธรรม/แนวคิดในการให้การปรึกษาประกอบด้วยไตรลักษณ์ ขันธ์ 5 เป็นต้นส่วนทฤษฎีทางจิตวิทยา ประกอบด้วยทฤษฎีจิตวิเคราะห์มีฟรอยด์เป็นพื้นฐานและทฤษฎีบุคลิกภาพของโรเจอร์ 4. ทักษะการปรึกษาประกอบด้วย ทักษะการพูด ทักษะการฟัง ทักษะการทวนซ้ำ 5. กระบวนการปรึกษามี 4 ขั้นตอนคือ 1. สัมพันธภาพสร้างศรัทธา 2. สนทนาเปิดใจ 3. เสริมธรรมเพิ่มปัญญา 4. ชี้แนะทางปฏิบัติ