รูปแบบการส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาด้วยหลักพุทธธรรม

Main Article Content

พระมหาสมโภชน์ (แดงสวัสดิ์) กุสโล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาบุคลากรทาง
การศึกษาที่เหมาะสมกับการปฏิรูปการศึกษาตามหลักพุทธธรรม 2) เพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมสำหรับการปฏิรูปการศึกษา และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา
ด้วยหลักพุทธธรรม โดยเป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ คือ
ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 108 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย และการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 27 รูป/คน และสนทนากลุ่ม
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป/คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า  ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่เหมาะสมกับการปฏิรูปการศึกษาตามหลักพุทธธรรม มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักในการบริหารจัดการสถานศึกษา ผู้บริหารมีความยุติธรรมในการพิจารณาและตัดสินเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรวางแผนงานล่วงหน้าเพื่อให้การดำเนินงานแต่ละด้านมีความคล่องตัว ผู้บริหารสามารถปรับปรุงและจัดสรรช่วงเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม ผู้บริหารอุทิศเวลาให้กับดำเนินงานและกิจกรรมภายในสถานศึกษา ผู้บริหารคิดและวางแผนการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสามารถดำเนินการตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ได้ทันเวลาในรอบปีการศึกษา ผู้บริหารพิจารณาอย่างรอบคอบในการอนุมัติการดำเนินงานในทุกโครงการที่เกิดขึ้นภายในสถานศึกษา ผู้บริหารเป็นตัวอย่างที่ดีมีการทำงานอย่างซื่อสัตย์ มีคุณธรรมจริยธรรม และผู้บริหารให้ความสำคัญกับการตัดสินใจภายใต้มติของที่ประชุมที่ผ่านการเห็นชอบจากบุคลากรส่วนใหญ่
2. การบูรณาการหลักพุทธธรรมสำหรับการปฏิรูปการศึกษา เป็นการบูรณาการหลัก
พุทธธรรมที่ส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักพุทธธรรมหลัก คือ หลัก
ทุติยปาปณิกสูตร ประกอบด้วย จักขุมา มีปัญญามองการณ์ไกล วิธุโร จัดการธุระได้มี
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และ นิสสยสัมปันโน พึ่งพาอาศัยคนอื่นได้เพราะเป็นคนมนุษย์สัมพันธ์ดี 2) หลักพุทธธรรมรอง คือ ไตรสิกขา สังคหวัตถุ 4 อริยสัจ 4 พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4
จักร 4 กัลยาณมิตร 7 สัปปุริสธรรม 7 สำหรับการปฏิรูปการศึกษา 3 ด้าน ได้แก่ การปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษา การปฏิรูประบบการศึกษา และการปฏิรูปบริบทแวดล้อมทางการศึกษา
3. เสนอรูปแบบการส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาด้วยหลักพุทธธรรม เป็นการบูรณาการภาวะผู้นำทางการศึกษากับหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำในการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วยภาวะผู้นำด้านการครองตน ครองคน
และครองงาน ภาวะผู้นำประกอบด้วยหลักธรรมาภิบาล ภาวะผู้นำที่มีการร่วมคิด ร่วมทำ
ร่วมปรับปรุงแก้ไข และร่วมภาคภูมิใจ และภาวะผู้นำในการปฏิรูปการศึกษา โดยมีหลักพุทธธรรม คือ หลักทุติยปาปณิกสูตร (จักขุมา วิธุโร นิสสยสัมปัน) ไตรสิกขา สังคหวัตถุ 4 อริยสัจ 4
พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 จักร 4 กัลยาณมิตร 7 สัปปุริสธรรม 7 อันเป็นหลักพุทธธรรม
ที่สอดคล้องในการปฏิรูปการศึกษา 3 ด้าน ประกอบด้วยการปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษา
การปฏิรูประบบการศึกษา และการปฏิรูปบริบทแวดล้อมทางการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิชาการ