การศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท่าไห อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปัจจัยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท่าไห อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักวิจัยในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้านในชุมชนและเยาวชน 2) ผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผา ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้คนไทยวันนี้ จังหวัดอุบลราชธานี และศูนย์การเรียนรู้ห้วยวังนอง จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนท่าไห อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ควรมี 1) หลักสูตรของศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาการปั้น 2) วิทยากรชุมชนสำหรับถ่ายทอดองค์ความรู้3) เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา3) การบริหารศูนย์การเรียนรู้ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการปัจจัยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชุมชน ท่าไห อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ได้แก่ 1) ด้านบุคลากร 2) เครื่องมือและอาคารสถานที่ 3) ผลิตภัณฑ์และกิจกรรมที่จะสร้างรายได้ให้กับศูนย์การเรียนรู้ 4) นโยบายและความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้ศูนย์การเรียนรู้เกิดความยั่งยืน 5) งบประมาณที่จะใช้ในการจัดตั้งและบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้