การใช้วัจนกรรมจากบทเพลงที่ขับร้องโดย จินตหรา พูนลาภ อาร์สยาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้วัจนกรรม จากบทเพลงลูกทุ่งอีสานที่ขับร้อง โดย จินตหรา พูลลาภ อาร์สยาม โดยการศึกษาประเภทของการใช้วัจนกรรมจากบทเพลงลูกทุ่งอีสาน 2 บทเพลง คือ เพลงใจช้ำที่คำชะโนดและเพลงเต่างอย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ผู้ศึกษาจะศึกษาวัจนกรรมจากเนื้อเพลงลูกทุ่งอีสาน และศึกษาเฉพาะความหมายประจำรูปประโยคของวัจนกรรมที่ปรากฏในบทเพลงลูกทุ่งอีสานตามเกณฑ์การแบ่งประเภทของวัจนกรรม (Speech Act Condition) ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้วัจนกรรม 7 ประเภท คือ มีการใช้วัจนกรรมการแสดงความเสียใจ มากที่สุด (Expressing Condolences) รองลงมาคือ วัจนกรรมการขอร้อง (Request) วัจนกรรมการสัญญา (Promises) วัจนกรรมการบอกเล่า (Affirmation) วัจนกรรมการถาม (Question) วัจนกรรมการแสดงความรู้สึกด้านลบ (Negative Feelings และวัจนกรรมการอ้างอิง (Referencing) พบน้อยที่สุด ตามลำดับ