นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตร รป.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์) คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดการบรรเลงแซกโซโฟนประกอบการแสดงหมอลำของอาจารย์สำราญ บุบผาวาสน์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีความมุ่งหมายของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้การบรรเลงแซกโซโฟนประกอบการแสดงหมอลำของอาจารย์สำราญ บุบผาวาสน์ และ 2) เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงแซกโซโฟนประกอบการแสดงหมอลำ ของอาจารย์สำราญ บุบผาวาสน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย อาจารย์สำราญ บุบผาวาสน์และกลุ่มลูกศิษย์ จำนวน 7 คน และให้ข้อมูลทั่วไป 2 คน ผลการวิจัยพบว่า
- กระบวนการเรียนรู้ เริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเองตั้งแต่อายุได้ 7 ขวบ ด้วยมีใจรักในการเล่นดนตรีและมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นนักดนตรีอาชีพ โดยมีพื้นฐานจากครอบครัวที่มีอาชีพหมอลำ และนักดนตรี ก่อให้เกิดการซึมซับทั้งการลำ และการเล่นดนตรีควบคู่กันมาตั้งแต่วัยเด็ก ได้เริ่มศึกษาและฝึกหัดการบรรเลงแซกโซโฟน ครั้งแรกเมื่ออายุได้ 17 ปี กับสิบโทขันธร นาคำ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องจนมีความเชี่ยวชาญ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับการถ่ายทอดความรู้เพิ่มเติมจากนักดนตรีอาชีพ จนสามารถคิดค้นบทบรรเลงแซกโซโฟนประกอบการแสดงหมอลำ ซึ่งมีเทคนิคการบรรเลงที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
- กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงแซกโซโฟนประกอบการแสดงหมอลำ ของอาจารย์สำราญ บุบผาวาสน์ เริ่มการถ่ายทอดความรู้ โดยการกำหนดเนื้อหา และระยะเวลาในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ จากนั้นจึงเริ่มให้ฝึกการบรรเลงตามบทฝึกการบรรเลงแซกโซโฟนหมอลำ ที่ท่านได้คิดค้นขึ้นมาเองประกอบด้วยบทฝึก 4 บทฝึก เป็นการเรียนการสอนแบบการสาธิตเป็นตัวอย่างให้ลูกศิษย์ปฏิบัติตาม และ สอดแทรกกลเม็ดวิธีการบรรเลง เมื่อผ่านการฝึกแต่ละบทแล้ว ก็จะทำการประเมินผลการเรียนรู้ของศิษย์ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิชาการ