การศึกษาพัฒนาช่องเปิดรับแสงธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงห้องสอนศิลปะ

Main Article Content

จตุพล รั กเปี่ยม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาแนวทางพัฒนาช่องเปิดรับแสงธรรมชาติเพื่อนำแสงธรรมชาติมาใช้ภายในห้องเรียนศิลปะ โดยงานวิจัยนี้ใช้อาคารศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นอาคารกรณีศึกษา และเพื่อใช้เป็นตัวแทนอาคารศิลปกรรมที่มีลักษณะใกล้เคียงกันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยใช้วิธีการออกแบบช่องเปิดพร้อมชุดหิ้งแสง ที่สามารถป้องกันแสงตรงเข้าสู่ภายในอาคาร โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองตำแหน่งดวงอาทิตย์ช่วยในการออกแบบการป้องกันแสงตรง ช่องเปิดพร้อมชุดหิ้งแสงแบ่งเป็นสองประเภท คือ ช่องแสงทางด้านบน และช่องแสงทางด้านข้าง แยกเป็นสองทิศทาง รวมจำนวนรูปแบบ 4 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 ช่องแสงด้านบนทางทิศเหนือ รูปแบบที่ 2 ช่องเปิดด้านบนทางทิศใต้รูปแบบที่ 3 ช่องเปิดด้านข้างทางทิศเหนือ รูปแบบที่ 4 ช่องเปิดด้านข้างทางทิศใต้ งานวิจัยนี้กำหนดใช้ลักษณะทางกายภาพจริงของอาคารกรณีศึกษาในการออกแบบ โดยกำหนดขนาดความสูงของช่องเปิดเท่ากันทุกรูปแบบเพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบ และ สร้างหุ่นจำลองมาตราส่วน 1 : 20 เพื่อใช้ในการทดสอบในสภาพท้องฟ้าจริง ในวันที่ 4–8 กุมภาพันธ์ และ วัดค่าความส่องสว่าง ทุกๆ 5 นาที แล้วนำผลวิเคราะห์ค่าความสม่ำเสมอความส่องสว่างเป็นสัดส่วนกับค่าเฉลี่ยของค่าความส่องสว่างภายในห้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตรึงใจ บูรณสมภพ. (2539). การออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ชาญศักดิ์ อภัยนิพัฒน์. (2545). เทคนิคการออกแบบระบบแสงสว่าง.
กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย – ญี่ปุ่น.

พิบูลย์ ดิษฐอุดม. (2540). การออกแบบระบบแสงสว่าง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมสิทธิ์ นิตยะ. (2541). การออกแบบอาคารสำหรับภูมิอากาศเขตร้อนชื้น.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.