แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม และเพื่อข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 313 รูป/คน ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F- test โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปและทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ LSD (Least-Significant Different) ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐานที่มีเพศ อายุ และการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ไม่แตกต่างกัน ส่วนข้อเสนอแนะควรมีการประสานงานกับชุมชน ผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงนโยบายการจัดการศึกษา และควรเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เช่น เชิญผู้ที่มีความรู้ในชุมชนเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นวิทยากร
Article Details
References
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษา.
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสําคัญที่สุด.
กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี.
ทองหล่อ พวงสุข. (2546). การพัฒนาการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนบ้านจานทองกวาววิทยา อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประเวศ ฤาชากุล. (2542). ปัญหาและการปฏิบัติงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดอุดรธานี.รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.