การวิเคราะห์เนื้อหางานการศึกษาตลาดน้ำ

Main Article Content

Proud Arunrangsiwed

บทคัดย่อ

ตลาดน้ำเป็นศูนย์รวมของคนในท้องถิ่น ซึ่งพวกเขาสามารถขายสินค้า และได้รับรายได้จากนักท่องเที่ยว ดังนั้นนักวิชาการหลายท่านจึงศึกษาเกี่ยวกับตลาดน้ำ งานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อระบุลักษณะโดยรวมของงานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้องกับตลาดน้ำ  คำว่า "ตลาดน้ำ" ได้ถูกใช้เป็นคำค้นในเว็บไซต์ Tci-Thaijo.org ซึ่งถูกค้นที่ห้องสมุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร บทความจำนวน 34 บทความได้ถูกค้นพบและใช้เป็นกรณี (Cases) ในการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ผู้ลงรหัสจำนวน 2 คน ทั้งสองแยกกับลงรหัส 4 ตัวแปร คือ (1) วิธีการเก็บข้อมูล (2) ประเภทกลุ่มตัวอย่าง (3) สถานที่ตั้งของตลาดน้ำ และ (4) ตัวแปรหรือหัวข้อที่ถูกระบุในงานวิจัยเกี่ยวกับตลาดน้ำ ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาพบว่างานวิจัยส่วนใหญ่ใช้การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยผู้ให้ข้อมูลเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย และสถานที่เก็บข้อมูลอยู่นอกกรุงเทพมหานคร หัวข้อการวิจัยหรือตัวแปรที่พบบ่อยคือ ส่วนผสมทางการตลาด ความสะดวกสบายของสถานที่ และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม กับภูมิปัญญาชาวบ้าน  นักวิจัยที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับตลาดน้ำในอนาคตควรพัฒนาเครื่องมือหรือสร้างกลยุทธ์ที่สามารถใช้ปฏิบัติได้จริงเพื่อปรับปรุงคุณภาพการสื่อสารระหว่างผู้ขายของ นักท่องเที่ยว ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่รัฐ  ตัวแปรหรือหัวข้อที่ไม่เคยถูกศึกษาควรที่จะถูกประเมินและวิเคราะห์ในอนาคต เช่น กิจกรรมการท่องเที่ยอย่างการให้อาหารปลาสวาย และกิจกรรมการทำบุญที่มีความแตกต่างจากการให้ทานปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ กันตะเพ็ง, และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). Dynamic of entrepreneurial shops at Amphawa floating market, in Samutsongkhram Province: study for grounded theory. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 81-101.
กฤตภาส บินสุอะหวา, และ ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2554). การประเมินผลตลาดน้ำคลองแห. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(2), 59-66.
ขนิษฐา บรมสำลี, และ รัฐพล สันสน. (2560). รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำแบบยั่งยืน. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(2), 1-22.
จัตตุรงค์ เพลินหัด. (2558). การเพิ่มศักยภาพของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ตลาดน้ำ) ของไทยก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(2), 19-27.
จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์, พัชนี เชยจรรยา, บุหงา ชัยสุวรรณ, พรพรรณ ประจักษ์เนตร, กุลฤดี นุ่มทอง, และ ขวัญชนก มั่นหมาย. (2557). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำในลุ่มน้ำภาคกลางอย่างยั่งยืน. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 1(1), 99-130.
จิรวุฒิ หลอมประโคน, ศลาฆนันท์ หงส์สวัสดิ์, และ รัชภร รุ่งตั้งธนาบุญ. (2562). ปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาตลาดน้ำทุ่งบัวแดงจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2), 73-82.
จิรวุฒิ หลอมประโคน, สุรัชดา เชิดบุญเมือง, และ เพชรไทย เย็นแย้ม. (2560). Component of Marketing Factors and Tourist Behavior visiting Talingchan Floating Market. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(2), 58-65.
เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์, เก็ตถวา บุญปราการ, ชุติมา หวังเบ็ญหมัด, Kathylene Remegio, และ อรุณพร อธิมาตรไมตรี. (2559). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการตลาดน้ำคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. Journal of Management Sciences, 33(1), 25-50.
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ, และ ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2557). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 66-79.
ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์. (2562). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 19(1), 122-135.
ชุติมา นุตยะสกุล, ประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญา จังหวัดนครปฐม. Dusit Thani College Journal, 10(1), 132-150.
ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์, ทัศนาวดี แก้วสนิท, และ กรกฎ จำเนียร. (2560). การสื่อสารการตลาดเชิงวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน: ตลาดน้ำสามคลองสองเมืองของจังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(2), 77-90.
ทากะโนริ อิชิกาวะ, และ ฉวีวรรณ เด่นไพบูลย์. (2560). การวิเคราะห์ระบบตลาดน้ำในประเทศไทยที่ยั่งยืน. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม การผังเมือง, 14(2), 127-142.
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2557). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดคลองสวน 100 ปี. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences: Humanities and Social Sciences SDU Research Journal, 10(2), 91-104.
ธีราภรณ์ นกแก้ว. (2555). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาตลาดน้ำวัดไทร กรุงเทพมหานคร. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences: Humanities and Social Sciences SDU Research Journal, 8(1), 49-60.
ปนันดา จันทร์สุกรี, นลินี พานสายตา, ไพลิน เชื้อหยก, และ นิตินัย รุ่งจินดารัตน์. (2560). การจัดการความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 49-63.
ปรียาภรณ์ เนียมนก, และ วศิน เหลี่ยมปรีชา. (2554-2555). การรวมกลุ่มของชุมชนนักปฏิบัติเพื่อสร้างรูปแบบทางการตลาดที่ยั่งยืนผ่านทฤษฎีกิจกรรม: กรณีศึกษา ตลาดน้ำอัมพวา. Journal of Business, Economics and Communications, 7(1), 29-38.
พรทิพย์ จุ้ยรอด. (2555-2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บริเวณตลาดน้ำโบราณบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 31(1), 93-114.
พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต. (2560). Damnoen Saduak floating market: The Current of Management. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 2(1), 73-88.
พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต. (2562). การพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะเชิงพุทธของชุมชนตลาดน้ําในจังหวัดราชบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(2),379-391
พราว อรุณรังสีเวช, กิตติศักดิ์ แสงใส, พงษ์เศรษฐ ละอองพันธุ์, ภานวิทย์ ทรงธรรม, วัชพล ฉายอรุณ, เนติ แก้วสวรรค์, และ พรรณรังสี อินทร์พยุง. (2561). การปลูกจิตสำนึกเพื่อการลดการทาลายปะการังโดยใช้การเรียนผ่านสื่อแอนิเมชัน. In The 3rd Technology Innovation Management and Engineering Science International Conference (TIMES-iCON2018). Bangkok, Thailand: The Association of Thai Digital Industries & Mahidol University.
พราว อรุณรังสีเวช, และ คเณศร์ จิตต์ไทย. (2562). ผลของการใช้ภาพยนตร์ดราม่ากระตุ้นความต้องการวางแผนชีวิตของผู้ชม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2562 ความท้าทายของอุดมศึกษาในการผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21 (หน้า 714-722) (1 กุมภาพันธ์ 2562). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พราว อรุณรังสีเวช, และ จารุวรรณ เฉลิมบุญ. (2562). เห็นใจกันบ้าง: อิทธิพลของภาพยนตร์สร้างสรรค์ที่มีต่อความเห็นอกเห็นใจของนักศึกษาในหอพัก. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2562 ความท้าทายของอุดมศึกษาในการผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21 (หน้า 698-704) (1 กุมภาพันธ์ 2562). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พราว อรุณรังสีเวช, และ ชญานิน แก้วบางยาง. (2562). ผลกระทบจากภาพยนตร์สยองขวัญที่มีต่อการลดลงของความสอดรู้สอดเห็นในผู้ชม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2562 ความท้าทายของอุดมศึกษาในการผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21 (หน้า 705-713) (1 กุมภาพันธ์ 2562). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พราว อรุณรังสีเวช และ รตจิตร อรุณรังสีเวช. (2560). แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(3), 47-63.
เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ และ พรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล. (2561). The Influence of Marketing Mix to the Effectiveness Cultural Tourism in Lam Phaya Floating Market. วารสารปาริชาต, 31(3), 155-160.
มธุรา สวนศรี (2559). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ ตลาดน้ำ บางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 17(31), 41-55.
รัศมี อุตเสนา. (2559). ตลาดน้ำกับการทำหน้าที่พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. EAU HERITAGE JOURNAL Social Science and Humanit, 6(3), 58-68 .
วรุณี เชาวน์สุขุม, และ วงศ์ธีรา สุวรรณณิน. (2561). The Strategies for Sustainable Tourism Development of Cultural Floating Market: A Case Study Floating Market Samchuk, Suphan Buri Province. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(4), 123 - 135.
วันทิตา ปาลิเอกวุฒิ, และ ปิติพร มโนคุ้น. (2561). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในคลองพระพิมลราชาบริเวณตลาดน้ำไทรน้อย อําเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ, 6(1), 37-44.
ศิริรัตน์ ขานทอง, ละเอียด ศิลาน้อย, และ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2562). Marketing Mix Factors that Tourists Give Precedence to Travel in Taling Chan Floating Market. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(1), 42-58.
สิรัชญา วงษ์อาทิตย์, ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2559). FACTORS AFFECTING THAI TOURISTS’ DECISION MAKING IN NOSTALGIA TOURISM. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 115-131.
สุทธยา สมสุข, สุวภัทร อำพันสุขโข, ยาภรณ์ ดำจุติ. (2561). Tourism Services of Klonghae Floating Market. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1), 43-60.
อรรนพ เรืองกัลปวงศ์, และ สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น FEU Academic Review, 10(3), 7-21.
Arunrangsiwed, P. (2013). The Effects of Website for Temples in Bangyai and Bangkruay District on Thai Tourist Attractions. In The 5th International Science, Social Science, Engineer and Energy Conference 2013 (pp. 207-211). Kanjanaburi, Thailand: Suan Sunandha Rajabhat University.
Arunrangsiwed, P. (2014). The Experimental Research Design of Animation-Based Learning Research. In The 10th National and International Social Science Symposium: Social Innovation for Sustainable Development in ASEAN Community (การประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10: นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประชาคมอาเซียน) (pp. 25-32). Chiang Rai, Thailand: Chiang Rai Rajabhat University.
Arunrangsiwed, P., Bunyapukkna, P., Ounpipat, N., & Inpayung, P. (2018). Wannabe Effect: The Study of Wishful Identification and Prosocial Media Effect. In The 3rd Technology Innovation Management and Engineering Science International Conference (TIMES-iCON2018). Bangkok, Thailand: The Association of Thai Digital Industries & Mahidol University.
Arunrangsiwed, P., Jareonpon, P., Suwan, T., Wichakam, A., Atta-Arunwong, P., Cheachainart, K., & Bunyapukkna, P. (2018). The Influence of Fan’s Superhero Preference, Superhero’s Leadership, and Ethics on Fans’ Leadership Imitation. In New York International Business and Social Science Research Conference 2018 (pp. 24-29). Long Island City, New York, USA: Australian Academy of Business Leadership.
Arunrangsiwed, P. & Srisuk, P. (2017). The Effectiveness of Learning Crisis Response Strategies through Movies. In The ICBTS 2017: International Academic Multidisciplinary Research Conference (pp. 12-19). Zurich, Switzerland: CK Research.
Nana Srithammasak, et al. (2561). The Study of Foreign Tourists Behavior towards Taling-Chan Floating Market. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 13(1), 27-35.
Varaporn Limpremwattana, และ Darika Koolkaew. (2561). องค์ประกอบของปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองลัดมะยม. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 19(36), 41-50.