วิจัย แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่จุดผ่อนปรน (ด่านประเพณี) ชายแดนไทย-ลาว : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี 4 อำเภอ -

Main Article Content

สุรพล ซาเสน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่จุดผ่อนปรน (ด่านประเพณี) ชายแดนไทย-ลาว : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี 4 อำเภอ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทความเป็นมาเขตพื้นที่จุดผ่อนปรนในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนจุดผ่อนปรนในจังหวัดอุบลราชธานี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 27 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดเวทีระดมสมองแบบสุนทรียสนทนา  การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบพรรณวิเคราะห์วิธี            


ผลการวิจัย 1) บริบทความเป็นมาของเขตพื้นที่และวิถีชีวิตของประชาชน  พบว่าจุดผ่อนปรนแต่ละจุดมีวิถีชีวิตและความสัมพันธ์แบบเครือญาติ มีการติดต่อสัมพันธ์แบบเกี่ยวดอง มีความผูกพันไว้ใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกันตามความเหมาะสม มีการแลกเปลี่ยนที่เป็นไปเพื่อการดำรงชีพมิใช่เพื่อผลกำไร มีการศึกษาทรัพยากรธรรมชาติและมีการสืบสานวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างต่อเนื่อง  แต่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจทำให้เกิดผลกระทบต่อวิถีความเป็นอยู่ทำให้มีความต้องการปัจจัย 4 เพิ่มมากขึ้น และเชื่อมถึงปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านกฎหมาย ปัจจัยด้านวัฒนธรรม และปัจจัยด้านความสัมพันธ์ ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ทั้งสองรัฐประเทศ 2) การพัฒนาพื้นที่จุดผ่อนปรนเป็นตลาดการค้าชายแดน  พบว่าจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ที่มีความเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งลาวและกัมพูชา ทำให้พื้นที่ชายแดนเป็นจุดผ่านที่มีผู้คนหลากหลายและจำนวนมากสัญจร จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาให้เป็นตลาดการค้าชายแดนเพื่อส่งออกสินค้าเครื่องอุปโภคและบริโภคเพื่อที่จะขยายฐานการส่งออกให้ครอบคลุมและเพิ่มศักยภาพด้วยการสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับนโยบายและข้อตกลงในเขตพื้นที่ชายแดนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เป็นตลาดเอื้ออาทร 3) วิธีการและเงื่อนไขในการใช้พื้นที่รักษาผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ  พบว่ารัฐบาลไทย หน่วยงานท้องถิ่นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนมีความจำเป็นต้องสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านด้วย การดำเนินภารกิจการค้าและธุรกิจระหว่างพรมแดนที่มีช่องทางการค้าชายแดนระหว่างกัน  จะต้องมีการบูรณาการร่วมกันทุกฝ่ายด้วยมิติด้านการพัฒนา มิติด้านความสัมพันธ์ มิติด้านการกลมกลืนทางเชื้อชาติ มิติทางภาคบริการและการท่องเที่ยว มิติด้านการย้ายถิ่นฐาน มิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มิติด้านนโยบายสาธารณะ และมิติด้านการเคารพกติกาสากล เพื่อให้พลเมืองเกิดสำนึกร่วมกันเฝ้าระวังภายใต้กลไกอำนาจรัฐ 4) การกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาและเงื่อนไขพื้นที่ชายแดน พบว่าความร่วมมือด้านความมั่นคงเป็นมาตรการสำคัญที่สุดและการบริหารจัดการในด้านการจัดสรรทรัพยากร  ส่วนการแบ่งแยกดินแดน การก่อ    การร้าย อาชญากรรมระหว่างประเทศ การลักลอบนำสิ่งผิดกฎหมาย แรงงานข้ามชาติต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสองประเทศเพื่อทำงานอยู่ภายใต้กฎหมาย 5) บทบาทและหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการจัดระเบียบและกฎหมายในการป้องกันเขตพื้นที่ชายแดน พบว่า   สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และภาคประชาชน ต้องให้ความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศกระทรวงให้แก่ประชาชนทั้งสองประเทศเพื่อจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพอย่างมั่นคงและอย่างยั่งยืน


คำสำคัญ: แนวทาง, การบริหารพื้นที่, จุดผ่อนปรน,ด่านประเพณี

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุรพล ซาเสน, คณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

  • รัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

บรรณานุกรม
ธวัชชัย คำยอด. (2558). ศึกษาวิจัยเรื่องจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) : กรณีศึกษาจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์. “การค้าชายแดนบริเวณจุดผ่อนปรนทางการค้าช่องกร่างระหว่างจังหวัดสุรินทร์ประเทศไทยและจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา,” วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 8, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2556) : 103.
พงษ์ศิริ จิตบาน. “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติในประเทศไทย,” วารสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7, 1 (มกราคม-เมษายน 2559) : 134.
มธุรดา สมัยกุล. “แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน : กรณีศึกษาตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชา,” วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25, 1 (มกราคม-เมษายน 2557) : 22.
ศุภชัย วรรณเลิศสกุล. “ข้อพิจารณาด้านกฎหมายในการจัดพื้นที่ตลาดการค้าชายแดนช่องตาอูขององค์การบริหาร ส่วนตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558) : 119.
อภินันท์ ศรีศิริ และคนอื่น ๆ. (2553). ปัญหาการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าชายแดนไทย-ลาว: ศึกษากรณีสินค้าต้องจำกัดกับสินค้าที่ไม่ได้ควบคุม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์
ฉัตรชัย ประพันธ์วัฒนะ. (2561). บริบทความเป็นมาของพื้นที่และวิถีชีวิตของประชาชนตามแนวชายแดน. (สัมภาษณ์) นายด่านศุลกากรเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี.
ปัญญา เศวตธรรม. (2561). บทบาทและหน้าที่ของภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชนในการจัดระเบียบและกฎหมายในการป้องกันเขตพื้นที่ชายแดน. (สัมภาษณ์) นายอำเภอ อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี.
พงษ์พิทักษ์ ระถาวนิชย์, ร.ต.อ. .(2561). บทบาทและหน้าที่ของภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชนในการจัดระเบียบและกฎหมายในการป้องกันเขตพื้นที่ชายแดน. (สัมภาษณ์) รองสว. ตม.จว. อุบลราชธานี.
รุ่งศักดิ์ ทองศรี, พ.ต.ท. (2561). การกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาและเงื่อนไขพื้นที่ชายแดนร่วมกัน. (สัมภาษณ์) รอง ผกก.สส.สภ. โพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี.
อมรพงศ์ ซาเสน. (2561). วิธีการและเงื่อนไขในการใช้พื้นที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ . (สัมภาษณ์) ปลัดอำเภอ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี.
Bibliography

Thawatchai Khamyord. (2561). Temporarily permitted Area Border Trade with the preparation for the ASEAN Community : Case Study of Temporarily permitted Area Border Trade, Khemmarat district, Ubon Ratchathani province. Master of Public Administration Thesis of Institute of Administration Deveploment. Graduate School Khon Kaen University. Khon Kaen : Khon Kaen University.
Nawarat Nithichaianan. Border Trading at the temporary permitted point Chong-Krang between Surin Thailand and Udommeechai Combodia. Journal of Research and Development Buriram Rajabhat University.8,2 (July-December 2013) : 103.
Pongsiri Chitban. Legal Problems Concerning National Park’s Administration management system in Thailand. Journal of Politics and Government Mahasarakrm university.7,1 (January-April 2559) : 134.
Maturada Samaikul. Border trade and economic development : case study of Friendship Border Market Thai-Cambodia, Sakaeo Province. Journal of Academic Services Prince of Songkla University. 25,1 (January-April 2557) : 22.
Supachai Wannalertskul. Legal Issue in the management of Chong Ta Au Border Market by Phon Ngam Sub-district Administrative Organization, Buntharik District, Ubon Ratchathani Province.Journal of Humanities and Social Sciences. 6,1 (January-June 2558) : 119.
Aphinan Srisiri and others. (2553). The problem in operations of The Thailand – Laos Borderline Import-Export Department : Case Study on the case of limited goods comparing to uncontrolled goods. Bangkok : The Thailand Research Fund.

Interviewee.
Chatchai Praphanwattana. (2561). A background and a people's way of life along the border. (Interviews) Customs officers of Khemmarat District, Ubon Ratchathani Province. Panya Sawettham. (2561). A roles and responsibilities of government, private and civil sectors in organizing and legislating for preventing a border area. (Interviews) District Chief Officers of Pho Sai District, Ubon Ratchathani Province.
Pongpitak Rathawanit. (2561). A roles and responsibilities of government, private and civil sectors in organizing and legislating for preventing a border area. (Interviews) Police Captain (Pol.Capt.) Sub-Inspectors of Khemmarat Immigration, Khemmarat District, Ubon Ratchathani Province.
Rungsak Thongsri. (2561).A determining measures to solve problems and border conditions.(Interviews)Police Lieutenant Colonel (Pol.Lt.Col.) Deputy Superintendent of Pho Sai District, Ubon Ratchathani Province.
Amonphong Sasen. (2561). A process and area requirement on international mutual interest. (Interviews) Assistant District Officers of Khemmarat District, Ubon Ratchathani Province.