แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการผสมเครื่องดื่มในเขตพื้นที่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Damrongpon Panjan

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการผสมเครื่องดื่ม ในจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจของบุคลากรด้านการผสมเครื่องดื่มในการพัฒนาบุคลากรด้านการผสมเครื่องดื่ม 2) ศึกษาความต้องการของบุคลากรในสถานประกอบการด้านการให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ต่อการพัฒนาทักษะการผสมเครื่องดื่ม 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการผสมเครื่องดื่ม ให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมบาร์เทนเดอร์แห่งประเทศ วิธีการดำเนินการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพประกอบกัน โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาได้แก่ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรด้านพนักงานผสมเครื่องดื่ม ในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ (Percentage)


            ผลการศึกษาพบว่า 1) จากการศึกษาความรู้ความเข้าใจของบุคลากรด้านการผสมเครื่องดื่มในการพัฒนาบุคลากรด้านการผสมเครื่องดื่ม ในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษพบว่า กลุ่มตัวอย่างพนักงานให้บริการผสมเครื่องดื่มให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านความรู้ความสามารถ (มากที่สุด) และ ด้านอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในบาร์ (น้อยที่สุด) ตามลำดับ 2) จากการศึกษาความต้องการของบุคลากรกลุ่มตัวอย่างในสถานประกอบการด้านการให้บริการเครื่องดื่ม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความต้องการของบุคลากร พบว่าผู้ประกอบการและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาบุคลากรด้านการผสมเครื่องดื่ม ต้องการให้มีการฝึกอบรมด้านการผสมเครื่องดื่ม (มากที่สุด) และต้องการการวางแผนทำธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกำไร (น้อยที่สุด ตามลำดับ 3) แนวทางในการพัฒนาบุคลากรด้านการผสมเครื่องดื่ม ประกอบไปด้วย การให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะในการผสมเครื่องดื่มประเภทต่างๆที่เป็นระดับสากล เทคนิคและวิธีการให้บริการลูกค้าที่มีอยู่ในร้านของตน เทคนิคการใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่ทันสมัยและเป็นสากล มีการส่งเสริมเรื่องการวางแผนทำธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกำไร ไม่ขาดทุนและต้องปิดกิจการลง เพื่อจะได้มีความรู้นำไปต่อยอดสำหรับการทำงานในอาชีพพนักงานผสมเครื่องดื่ม หรือเจ้าของกิจการในภายภาคหน้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา รัตนพฤกษ์. (2545). การตลาดบริการ. เชียงใหม่: ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
ชนัญญา ศรีลลิตา. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟสดของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพ.
ทรงสมร กิตติวุฒิเวช. (2560). เครื่องดื่มและการผสมเครื่องดื่ม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: วังอักษร.
ปิยะนาถ น้อยวัฒน์. (2554). แนวทางการพัฒนาการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนตลาดน้ำดำเนินสะดวก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
พรทิพย์ เกียรติภาคภูมิ. (2551). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสตาร์บัคส์ ในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.กรุงเทพ.
ร้านค้าออนไลน์. 2560. อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมเครื่องดื่ม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2560, จาก: http://www.jjthaibarsupply.com/.
สิทธิโชค เลิศธีรดา. (2551). แนวทางการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กรณีศึกษาอาชีพมัคุเทศก์. ปริญญานิพนธ์ วท.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.




Translated Thai References

Chai Photisita. (2011). Science and art of quality research (5th edition). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.
Chananya Sriallita. (2008). Factors affecting consumers' decision to use fresh coffee shops in Bangkok. Independent Study, Master of Business Administration, Phranakhon Rajabhat University. Bangkok.
Krisana Rattanaphruek. (2020). Service marketing. Chiang Mai: Department of Marketing Faculty of Business Administration. Chiang Mai University.

Piyanart Noiwat. (2011). Market development promoting sustainable tourism in Damnoen Saduak Floating market. Independent Study, Naresuan University, Phitsanulok.
Pornthip Kiatphakum. (2008). Customer relationship management that affects Starbucks coffee consumption behavior in Bangkok. Master of Business Administration Thesis, Srinakharinwirot University.Bangkok.
Shop Online. 2017. Equipment for mixing beverages. (Online). Retrieved 15 December 2017, from: http://www.jjthaibarsupply.com/.
Sittichok Lertthirada. (2008). Guidelines for human resource development in the tourism industry. Case study Career guide. Thesis, Srinakharinwirot University.Bangkok.
Songsamorn Kittiwutwej. (2017). Soft drinks and beverage combinations. (1st edition). Bangkok: Wang Aksorn.
Supang Chantawanit. (2013). Qualitative research methods (21st edition). Bangkok: Chulalongkorn University Publisher.