การวิเคราะห์บทพากย์-เจรจาแบบกวนมุขในโขนพระราชทาน

Main Article Content

นายอธิปัตย์ นิตย์นรา

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งวิเคราะห์บทพากย์-เจรจาแบบกวนมุขในโขนพระราชทานโดยใช้ทฤษฎีอารมณ์ขันและวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมจากข้อมูลดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า บทพากย์-เจรจาแบบกวนมุขในโขนพระราชทานมีความสอดคล้องกับทฤษฎีอารมณ์ขัน 3 ทฤษฎี ได้แก่ 1) ทฤษฎีความเหนือกว่า (Superiority Theory) 2) ทฤษฎีความผ่อนคลาย (Relief Theory) และ 3) ทฤษฎีความไม่เข้ากัน (Incongruity Theory) รวมทั้งยังปรากฏกลวิธีทางภาษาต่าง ๆ เช่น การใช้อวัจนภาษา การใช้คำภาษาต่างประเทศ การใช้คำศัพท์ทางการแพทย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในหลายประเด็น เช่น ความเท่าเทียมกันในสังคม ความหลากหลายทางเพศ ระบบชนชั้นทางสังคม
การตื่นตัวทางการเมืองการปกครอง การทุจริตของรัฐบาล ความนิยมในสื่อบันเทิง การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เป็นต้น บทพากย์-เจรจาแบบกวนมุขเป็นสีสันอย่างหนึ่งของการแสดงโขน แสดงให้เห็นถึงปฏิภาณไหวพริบทางการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายจึงเหมาะสมกับผู้ชมทุกเพศทุกวัยและการใช้ภาษาเหล่านั้นยังสะท้อนถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมในช่วงระยะเวลานั้นด้วย ลักษณะเช่นนี้เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า ภาษามีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับสังคมอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). อึ้ง!วัยรุ่นไม่รู้ตัวป่วยไบโพลาร์ทำเสียโอกาสรักษา 11 ปี. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2563, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28325.
กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2548). การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลกภาษาไทย. (ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎี บัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2547). นวนิยายกับสังคมไทย (2475-2500). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โครงการ เผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรภัทร์ ทองนิ่ม, ผุสดี หลิมสกุลและไพโรจน์ ทองคำสุก. (2556). การพากย์และเจรจาที่ใช้ในการแสดงโขน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 15(1), 1-14.
นัฐพงษ์ นุชนนทรีย์, ชนัย วรรณะลีและนิวัฒน์ สุขประเสริฐ. (2557). คนพากย์-เจรจา : ผู้อยู่เบื้องหลังการแสดงโขน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 15(2), 69-78.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2547). ประมวลสาระชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เมดฮับ นิวส์. (2560). สถิติ "โรคไบโพลาร์" พุ่ง ! รักษาที่ศรีธัญญา 9,452 คน ทั่วประเทศ 31,521 คน. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2563, จาก https://medhubnews.com/ดูบทความ-17454-สถิติ-โรคไบโพลาร์-พุ่ง-รักษาที่ศรีธัญญา-9452.html.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2562). กปปส.. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/กปปส.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2563). แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2563). คณะรักษาความสงบแห่งชาติแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เวิร์คพอยท์นิวส์. (2561). “ยูเนสโก” ขึ้นทะเบียน “โขนไทย” ครั้งแรกในประวัติศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2563, จาก https://workpointnews.com/2018/11/29/ยูเนสโก-ขึ้นทะเบียน-โขน/.
ศ. บุหงาไพร. (2557). โขน ศึกมัยราพณ์ ปี 2554 –1-12. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=42LYz7mm5lU.
สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2557). ปีแห่ง 'วิกฤตอีโบลา' ...ที่ยังไม่สิ้นสุด. สืบค้น 10 มิถุนายน 2563, จาก https://www.hfocus.org/content/2014/12/8989
อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2547). เลื่อมลายสายรุ้ง ภาพสะท้อนสังคมในนวนิยายปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคทีฟ พริ้น จำกัด.
Freud, Sigmund. 1905. Der Witz und seine Beziehung zum Unbewussten. Frankfurt am Main: Fischer Taschenbuch, 1978.
Hobbes, Thomas. 1651. Leviathan. London: Crooke. Facsimile edition. Oxford: Clarendon Press, 1909.
Kant, Immanuel. 1790. The Critique of Judgment. Translated, with analytical indexes, by James Creed Meredith. Oxford: Clarendon Oress, 1969.
Sarun Makrudin. (2558). โขน โมกขศักดิ์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=UB5iNJwLx44.
Suls, Jerry M. 1972. A Two-Stage Model for the Appreciation of Jokes and Cartoons: An Information-Processing Analysis. In Goldstein & McGhee (eds), The Psychology of Humor, pp. 81-100.
Thai Classical Dance R.B. โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์. (2558). โขนพระราชทานชุด ศึกอินทรชิต ตอน นาคบาศ. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=a8DbcXQyIzQ&list=PLczvV2iXObsfIxrSbPpovVjWqRcUr2CaP
Thanawin Pholphakdee. (2563). โขนพระราชทาน ตอนพิเภกสวามิภักดิ์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=O5ijKwuK_3M