ข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ของชาวจีนที่พูดภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

Main Article Content

กฤติกา ชูผล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารระหว่าง
วัฒนธรรมของชาวจีนที่ใช้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารระหว่างคู่สนทนาชาวไทยและ
ชาวจีน
ผลการศึกษาพบว่าข้อบกพร่องในด้านหลักการใช้ภาษาจำนวนทั้งสิ้น 65 สถานการณ์ พบการ
ปรากฏจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ อันดับที่ 1 ข้อบกพร่องด้านการใช้คำผิดความหมาย รองลงมาคือ
ข้อบกพร่องด้านการสลับที่คำ ข้อบกพร่องด้านการออกเสียงพยัญชนะต้นผิด ข้อบกพร่องด้านการวางรูป
ประโยคผิด และข้อบกพร่องด้านการใช้สระผิด มีจำนวนเท่ากัน ข้อบกพร่องด้านการออกเสียงพยัญชนะท้าย
ผิด ข้อบกพร่องด้านการออกเสียงวรรณยุกต์ผิด และอันดับสุดท้ายมีจำนวนเท่ากันคือ ข้อบกพร่องด้านการใช้
คำที่มีความหมายซ้ำกัน ข้อบกพร่องด้านการใช้คำสรรพนามไม่เหมาะสม และข้อบกพร่องด้านการใช้คำ
ลักษณะนามผิด
ข้อบกพร่องในการสื่อเจตนาทั้งสิ้น 12 สถานการณ์ พบการสื่อเจตนาผิดแบบไม่ข้ามจุดมุ่งหมาย
วัจนกรรม (ร้อยละ 58.34) และการสื่อเจตนาผิดแบบข้ามจุดมุ่งหมายวัจนกรรม (ร้อยละ41.67) ส่วน
ข้อบกพร่องด้านการตีความเจตนา ทั้งสิ้น 7 สถานการณ์ พบการตีความเจตนาผิดแบบไม่ข้ามจุดมุ่งหมาย
วัจนกรรม (ร้อยละ 14.29) และการตีความเจตนาผิดแบบข้ามจุดมุ่งหมายวัจนกรรม (ร้อยละ 85.72)


นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวจีนที่ใช้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเนื่องมาจากการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติ ซึ่งจำแนกได้เป็นการถ่ายโอนเชิงบวก และการถ่ายโอนเชิงลบ มโนทัศน์เรื่องระยะห่างทางอำนาจ และมโนทัศน์เรื่องความสุภาพกับอุปลักษณ์เรื่อง ‘หน้า’

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีวิต. (2551). วัฒนธรรม การสื่อสาร และอัตลักษณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จินดารัตน์ ธรรมรงวุทย์. (2553). ข้อกพร่องเชิงวัจนปฏัติศาสตร์ในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม : กรณีศึกษาการใช้ภาษาไทยของผู้พูดชาวอเมริกันและชาวจีน. วิทยานิพนธ์ศิปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดนยา รักศีล. (2551). กลวิธีและรูปแบบภาษาที่ใช้ในการขอร้องในภาษาเยอรมันและภาษาไทย: การศึกษาวัจนปฏิบัติศาสตร์เปรียบต่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเยอรมัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนพรรษ สายหรุ่น. (2542). กลวิธีการปฏิเสธในภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ : การศึกษาการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษร ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวมินทร์ ประชานันท์. (2549). การถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการตอบข้อร้องเรียนของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในธุรกิจการโรงแรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
มัญชรี โชติรสฐิติ. (2556). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เมตตา วิวัฒนานุกุล. (2536). ลักษณะและปัญหาการสื่อสารต่างวัฒนธรรมในบรรษัทนานาชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______________. (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม. (2551). อุปลักษณ์ที่นักการเมืองไทยใช้: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชานและวัจนปฏิบัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2552). วัจนปฏิบัติศาสตร์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
XICHANG HUANG. (2556). ผลกระทบของการสื่อสารต่างวัฒนธรรมที่มีต่อการปรับตัวของครูชาวจีนที่สอนภาษาจีนในกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (ธุรกิจระหว่างประเทศ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Gudykunst,W.B. (2001). Asian American Ethnicity and Communication. Thousand oaks, CA. USA: Sage.
Jandt, F. E. (1998). Intercultural Communication: An Introduction. (2 ed.). California: Sage Publications,Ind.
Lewis, R.D. (1999). When cultures collide : Managing successfully across cultures. London: Nicholas Brealey.
Thomas, J. (1983). Cross-cultural pragmatic failure. Applied Linguistics, 4, 91-112.