ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ของฝากของชุมชนบ้านนาสะอุ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์ให้เป็นสินค้ากลุ่มรองรับตลาดห้างสรรพสินค้า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้มีมูลค่าสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ของฝากของชุมชนบ้านนา สะอุ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อประเมินศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของชุมชนบ้านนาสะอุ้ง และ 3) เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของชุมชนบ้านนาสะอุ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์ให้เป็นสินค้ากลุ่มรองรับตลาดห้างสรรพสินค้า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้มีมูลค่าสูง โดยใช้กระบวนการวิจัยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) และทำการตรวจสอบความเที่ยงเชิงเนื้อหาแบบสามเส้า กลุ่มประชากร คือ ผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ และชุมชนบ้านนาสะอุ้ง รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มาเยือนในแหล่งท่องเที่ยวตำบลวังบาล จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวนรวมทั้งสิ้น 25 คน และใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การสำรวจ การสังเกตการณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อถอดองค์ความรู้ และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าวไร่ มะขาม กะหล่ำ พลับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงกลุ่มชาติพันธุ์ประจำถิ่น ซึ่งได้แก่ กลุ่มผ้าทอและผ้าปักของกลุ่มชาวเขาเผ่าม้ง ด้านศักยภาพของผลิตภัณฑ์ของฝากที่สามารถต่อยอดเพื่อนำไปสู่ตลาดห้างสรรพสินค้าได้ พบว่า ผลิตภัณฑ์ของฝากของชุมชนบ้านนาสะอุ้งมีความหลากหลาย แต่ยังมีปัจจัยจำกัดในเรื่องคุณภาพและกระบวนการผลิตที่ยังไม่ตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร และการขอใบรับรองผักปลอดสารพิษต่างๆ ประกอบกับการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของชุมชนบ้านนาสะอุ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์ให้สามารถเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มตลาดห้างสรรพสินค้า ประกอบด้วย คุณภาพสินค้า กลุ่มผู้บริโภค การขนส่ง ความรู้ในการทำธุรกิจ ต้นทุนหรือทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สิทธิทางกฎหมายและความแตกต่างทางชาติพันธุ์ และการแข่งขันทางการตลาด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฑาทิพย์ ทิพย์เหรียญ. (2559). พฤติกรรมการซื้อของฝากของนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบอิสระในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สโรชา ถึงสุข ศิริวรรณ อำพันฉาย เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง อารีรัตน์ พระเพชร พิจิตร ศรีปินตา และสมชาย บุญประดับ. (2562). การพัฒนาต้นแบบการผลิตพืชแบบผสมผสานบนพื้นที่เขาสูงเขาหัวโล้นภู ทับเบิกภายใต้โครงการทับเบิกโมเดล ใน การประชุมวิชาการ และสรุปผลงานประจำปี กรม วิชาการเกษตร. 23 – 24 กันยายน 2562.
ฮาวกินส์ จอห์น. (2552). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ : เขามั่งคั่งจากความคิดกันอย่างไรคุณากร. แปลโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์.