ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพบริการที่มีอิทธิพลต่อการกลับมา ใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคร้าน After Yum โดยส่งผ่านความพึงพอใจ

Main Article Content

สุปรียา ช่วยเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาบริโภคซ้ำร้าน After Yum 2)เพื่อศึกษาเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการร้าน After Yum หรือผู้ประกอบการทั่วไปนำไปพัฒนาต่อยอดกิจการ ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ลูกค้าหรือผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการซ้ำร้าน After Yum จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ โดยมี 4 ส่วนเป็นคคำถามปลายปิด 3 ส่วน ปลายเปิด 1 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ สถิติเชิงอนุมาน


       จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) และคุณภาพการบริการมีความสัมพันธ์ต่อการ กลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคร้าน After Yum อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อแนะนำควรศึกษาในรูปแบบการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคร้าน After Yum คุณภาพการบริการ ความพึงพอใจ และการกลับมาใช้บริการซ้ำ เพื่อให้งานวิจัยฉบับนี้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ ครบถ้วน และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทำการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของอาหาร และคุณภาพการบริการ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีจนนำมาสู่การกลับมาใช้บริการซ้ำ รวมถึงพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สามารถซื้อกลับไปทำที่บ้านเองแล้วรสชาติเหมือนทานที่ร้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมสัน โรจนาวิไลวุฒิ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการร้านขนมหวาน คริสพีเครป (Crispy Crepes). กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชวัล เอี่ยมสกุลรัตน์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการบริโภคอาหารนานาชาติ ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชาคริต ดิเรกวัฒนชัย. ชีวิตทันสมัย: ชีวิตเร่งรีบแต่ต้องดูดี. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2564, จาก: FQ149_p092-94.pdf (tpa.or.th).
ชุติมา มุสิกะเจริญ. (2563). ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดปี 63 รายได้ร้านอาหารวูบ 10% เหลือ 3.85-3.89 แสนลบ. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2564, จาก: https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=c0FRd3ZVTUY2YU09.
ชูใจ คูหารัตนไชย. (2542). สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ณัฐวุฒิ รุ่งเสถียรภูธร. (2558). ประเภทของร้านอาหาร คุณภาพของอาหาร คุณภาพการบริการ และสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารส่าหรับมื้อค่าของประชากรในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ประทุมพร ม่วงเอก. (2563). วันนี้ SETTHSI ปิดที่ระดับ 889.03 จุด ลดลง 4.62 จุดหรือ 0.52 %. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2564, จาก: https://www.hooninside.com/news-feed/194762/view/www.jrw.co.th
ปราณิดา ศยามานนท์. (2019). ส่องเทรนด์ธุรกิจร้านอาหาร “ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่?”. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2564, จาก: https://alivesonline.com/?p=5406.
พิณิชา กิจเกษมพงศา. (2559). คุณภาพของอาหาร ความคุ้มค่าด้านราคา ความพึงพอใจ คุณค่าด้านสุขภาพ และทัศนคติต่ออาหารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารริมทางของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. พัทยา: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พีระพงษ์ คูหาคติภพ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการร้านอาหารริมทางในจังหวัดนครปฐม. พัทยา: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เพิทพงษ์ปิติ ผาสุข. (2563). ถอดสูตรลัดนักเล่าเรื่อง ‘เพิท’ พงษ์ปิติ ผาสุขยืด ผู้ก่อตั้งเพจ Ad Addict. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2564, จาก: https://creativetalklive.com/ad-addict/.
เมฐินี ภิญโญประการ. (2560). สภาพแวดล้อมทางกายภาพ คุณภาพในการให้บริการ สื่อสังคมออนไลน์ และคุณภาพอาหารที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารเวียดนามซ้ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รสสุคนธ์ แซ่เฮีย. (2558). ปัจจัยพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรม คุณภาพการบริการ ส่วนผสมการตลาดบริการ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รัตติญาภรณ์ พิศาลวราพงศ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสําหรับธุรกิจบริการที่มีอิทธิพลต่อการเข้าใช้บริการร้านยศข้าวต้มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). เปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค ไอศกรีมวอลล์ และไอศกรีมเนสท์เล่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สรอรรถ ปานอุดมลักษณ์. (2557). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการระหว่างร้านอาหารแฟรนไชส์ต่างประเทศกับร้านอาหารแฟรนไชส์ประเทศไทยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบอกต่อและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สัณห์จุฑา จํารูญวัฒน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทฟูดทรัก (Food Truck) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิริกาญจน์ ตฤติยศิริ. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อผู้ใช้บริการชาวไทยสำหรับห้องอาหารไทย ศาลาริมน้ำในโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สิริภา กิจประพฤทธิ์กุล. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ทัศนคติ และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศเกาหลีของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสภิตา รัตนสมโชค. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (บีทีเอส) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หยุนหยี่ ฉ่าง. (2561). ลักษณะทางกายภาพ ความไว้วางใจ และคุณภาพการบริการส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการซ้ำรีอสอร์ทของนักท่องเที่ยวในเมืองพัทยา. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Etzel, Michael J.; Walker, Bruce J. and Stanton, William J. (2007). Marketing. (14th ed). New York: McGraw – Hill/Irwin.