ความตั้งใจและคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

ทรงสิริ วิชิรานนท์
อรุณี อรุณเรือง
ภาวินี อุ่นวัฒนา
กฤตพร ชูเส้ง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความตั้งใจและคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ที่กําลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2562 ทุกคณะ จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา ภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก (x̄ = 3.95, S.D.= .62) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ นักศึกษามีความตั้งใจค่อนข้างมากที่จะทำธุรกิจของตนเองหลังจากสำเร็จการศึกษา (x̄ = 4.13, S.D.= .90) โดยเหตุผลที่ตั้งใจจะประกอบการเองสูงสุด คือ ต้องการเป็นเจ้านายตัวเองและมีความอิสระในการจัดการตัวเอง (ร้อยละ 81.65) และประเภทของธุรกิจที่ตั้งใจจะเป็นผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่ต้องการประกอบธุรกิจทำอาหารขาย/ร้านอาหาร/ร้านกาแฟ/เบเกอรี่ (ร้อยละ72.10) ส่วนคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา ค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ( x̄ = 4.13, S.D.= .48) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความใฝ่ใจในความสําเร็จ (x̄ = 4.22, S.D.= .60)  สำหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ อายุ กลุ่มวิชา อาชีพบิดา อาชีพมารดา และรายได้ครอบครัว แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ . 05 ในขณะที่ชั้นปีที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการโดยรวมไม่แตกต่างกัน สำหรับอำนาจการพยากรณ์คุณลักษณะผู้ประกอบการที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีค่าเท่ากับ .66 โดยตัวแปรคุณลักษณะร่วมพยากรณ์ความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามี 3 คุณลักษณะ คือ ด้านความเป็นตัวของตัวเอง ด้านความมีนวัตกรรม และด้านความกล้าเสี่ยง


คำสำคัญ : ความตั้งใจ คุณลักษณะ ผู้ประกอบการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐานิศร์ เหราบัตย์ และกฤตนัย บุญราช. (2562). GenY on the job ในวารสารเศรษฐกิจและสังคม. ปีที่ 56 ฉบับที่ 2

กรกฎาคม-ธันวาคม 2562.

ณัฐยา สินตระการผล. (2553). คัมภีร์เจ้าของกิจการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ณัฐวุฒิ วิเศษ. (2554). คุณลักษณะและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสาขาการเป็นผู้ประกอบการใน

เขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

นราเขต ยิ้มสุข. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ประกอบการกับความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจ

ขนาดย่อม : กรณีศึกษาธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับ ในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา

บัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ปรมะ สตะเวทิน และคณะ. (2546.). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 9-15 = Principles and theories of

communication. นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรารถนา หลีกภัย และเกิดศิริ เจริญวิศาล. (2555). ผลของการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นตลาด และ

การมุ่งเน้นการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถทางนวัตกรรมองค์กร. วารสารวิทยาการการจัดการ. 29 (1)

มกราคม-มิถุนายน 2555, 77-90.

พรรณสิยา นิธิกิตติ์สุขเกษม. (2018). โมเดลความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียนในโครงการศูนย์บ่มเพาะ

วิสาหกิจ. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 7 (1) มกราคม - มิถุนายน 2561 , 146-161.

พิชญา มัชฌิมศรัทธา. (2554). บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ ภูมิความรู้ความชำนาญ ทักษะการจัดหาทรัพยากรใหม่และ

ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการโรงแรมอิสระในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

มรกต กำแพงเพชร และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของ

นักศึกษาปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. ธุรกิจปริทัศน์, 7(1), 207-224.

เมธาวี เกียรติพรพิเชฐ และจรัญญา ปานเจริญ.(มปป.). คุณลักษณะและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา

ระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 153-165 เข้าถึงได้จาก

https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files202/7-2-15.pdf

วิมพ์วิภา เกตุเทียน. (2556). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาด

กลางในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน).

วุฒิชัย จงคำนึงศิล. (2547). การศึกษาและพัฒนาคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม.

(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ).

ศักดิพล เจือศรีกุล. (2560). ผู้ประกอบการไทยกับเศรษฐกิจไทยปี 2560. เข้าถึงจาก www.

https://www.posttoday.com/social/think/477397

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , สำนักนายกรัฐมนตรี. (2562). สรุปสาระสำคัญ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงจาก

https://www.google.com/search?rlz =1C2KMZB_enTH520TH549&ei= EgcbXIunJ4zwvgTa3p_

ADg&q=แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

สำนักวิชาการและงานทะเบียน. (2561). สถิตินักศึกษา. เข้าถึงจาก https://www.rmutp.ac.th/

สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2554). คุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ. เข้าถึงจาก

http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538705672 &Ntype=124.

อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ : มาเธอร์ บอส แพคเก็จจิ้ง.

Frese, Michael. (2000). Success and Failure of Micro business Owners in Africa. A Psychological

Approach. United States of America: Greenwood Publishing Group.

Jamieson, I. (1984). Schools and enterprise. Education for enterprise, 1(1), 7-18.

Yonca Gürol . (2006). Entrepreneurial characteristics amongst university students: Some insights

for entrepreneurship education and training in Turkey. Emerald Group Publishing

Limited. Education + Training, Vol. 48 Iss: 1, pp.25 – 38