ความต้องการจำเป็นในการบริหารทรัพยากรบุคคลตามเกณฑ์ในการประเมินสถานการณ์การเป็นระบบราชการ 4.0 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

Main Article Content

สิริกานต์ แก้วคงทอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารทรัพยากรบุคคลตามเกณฑ์ในการประเมินสถานการณ์การเป็นระบบราชการ 4.0 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 130 คน ประกอบด้วย ข้าราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจากทุกสำนักฯ ซึ่งมาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการบริหารทรัพยากรบุคคลตามเกณฑ์ในการประเมินสถานการณ์การเป็นระบบราชการ 4.0 ของสำนักงานเลขาธิการ
สภาการศึกษา คือ 0.20 (PNI Modified = 0.20) การบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การพัฒนาบุคลากร (PNI Modified = 0.25) รองลงมาและมีลำดับความต้องการจำเป็นอยู่ในอันดับเดียวกัน คือ การสรรหา คัดเลือกและจัดวางบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร และการธำรงรักษาบุคลากร (PNI Modified = 0.21) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า 1) การวางแผนบุคลากร ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและตอบสนองได้ทันที (PNI Modified = 0.20) 2) การสรรหา คัดเลือก และจัดวางบุคลากร ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การทำงานเชิงรุก (PNI Modified = 0.23) 3) การพัฒนาบุคลากร ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การทำงานเชิงรุก (PNI Modified = 0.30) 4) การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและตอบสนองได้ทันที (PNI Modified = 0.24) 5) การธำรงรักษาบุคลากร ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การทำงานเชิงรุก และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและตอบสนองได้ทันที (PNI Modified = 0.24)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ขวัญตา เบ็ญจขันธ์. (2560). ไทยแลนด์ 4.0 กับการปรับตัวของข้าราชการไทย. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2564, จาก file:///C:/Users/User.DELL-58-30/Downloads/242255-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-834157-1-10-20200425.pdf
ชลาทิพย์ ชัยโคตร. (2560). การบริหารราชการไทย. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564, จาก http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/18q63mLihaq02m6q62a8.pdf
ธาดา ราชกิจ. (2562). การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรยุคปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564, จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/th-whatishrm-190117/
พิธุวรรณ กิติคุณ. (ม.ป.ป.). การปฏิรูประบบราชการ. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2564, จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-006.pdf
สิริกร สุขสุดไพศาล และกาญณ์ระวี อนันตอัครกุล. (2556). วัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการพลเรือนในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2564, จาก file:///C:/Users/User.DELL-58-30/Downloads/3791-12348-1-PB.pdf
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จากhttps://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/article/4._rabbraachkaaraithyainbribthaithyaelnd-4-0.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.). คู่มือการประเมินสถานนะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก file:///C:/Users/User.DELL-58-30/Downloads/PMQA4.0Mannual%20(1).pdf

Translated Thai References

Khawnta Benchakhan. (2017). Thailand 4.0 and the self-adjustment of Thai Civil Servant. Retrieved 7 April 2021, From file:///C:/Users/User.DELL-58-30/Downloads/242255-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-834157-1-10-20200425.pdf
Chalatip Chaikot. (2017). Thai Public Administration. Retrieved 5 April 2021, From http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/18q63mLihaq02m6q62a8.pdf
Thada Rajakit. (2019). Human Resource Management (HRM) the heart of driving the organization. Retrieved 5 April 2021, From https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/th-whatishrm-190117/
Phithuwan Kitikhun. (n.d.). Bureaucratic Reform. Retrieved 7 April 2021, From https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-006.pdf
Sirikorn Suksudpaisarn and Kanravi Anantaakkharakul. (2013). Organizational Culture and Motivation Influencing Working Efficiency of Civil Servant in Bangkok Metropolitan. Retrieved 6 April 2021, From file:///C:/Users/User.DELL-58-30/Downloads/3791-12348-1-PB.pdf
Office of the Civil Service Commission. (2017). Thai bureaucracy in the context of Thailand 4.0. Retrieved 1 April 2021, From https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/article/4._rabbraachkaaraithyainbribthaithyaelnd-4-0.pdf
Office of the Public Sector Development Commission. (n.d.). A Guide to Assessing the Status of Government 4.0. Retrieved 1 April 2021, From file:///C:/Users/User.DELL-58-30/Downloads/PMQA4.0Mannual%20(1).pdf