กลวิธีทางวรรณศิลป์และการนำเสนอภาพความเป็นอื่นในกวีนิพนธ์ของอังคาร จันทาทิพย์

Main Article Content

สริยกานต์ ยี่เก็งเอี่ยม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์และการนำเสนอภาพความเป็นอื่น         ที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ของอังคาร จันทาทิพย์ ผลการศึกษาพบว่ากลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ของอังคาร จันทาทิพย์ ปรากฏอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ 1) กลวิธีการสรรคำ คือ การสรรคำในลักษณะต่าง ๆ มาแต่งกวีนิพนธ์ ได้แก่ การใช้คำซ้ำ การใช้คำเลียนเสียง การใช้คำไวพจน์และการใช้คำแสลง 2) กลวิธีการใช้เสียงของคำ ที่ทำให้เกิดความไพเราะ เกิดจังหวะลีลาชวนให้น่าอ่านและเกิดความหมายอย่างลึกซึ้ง 3) กลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ ได้แก่ อุปลักษณ์  บุคลาธิษฐาน การกล่าวอ้างถึงและสัญลักษณ์  ส่วนประเด็นการนำเสนอภาพความเป็นอื่นในกวีนิพนธ์ของอังคาร จันทาทิพย์ พบว่า มีการนำเสนอภาพความเป็นอื่น 3 ด้าน ได้แก่ 1) อำนาจรัฐกับกระบวนการทำให้ชนกลุ่มน้อยเป็นคนอื่น เกิดจากรัฐไม่เห็นความสำคัญและใช้อำนาจทำให้ชนกลุ่มน้อยกลายเป็นคนอื่นในบริบทพื้นที่ของตนเอง  2) สังคมพหุวัฒนธรรมกับการนำเสนอภาพต่างคนต่างเป็นอื่น เช่น ความแตกต่างระหว่างภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างคนต่างเป็นอื่น 3) คนชายขอบกับภาพความเป็นอื่นทั้งที่ไม่ใช่คนอื่น การศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์และการนำเสนอภาพความเป็นอื่นในกวีนิพนธ์ของอังคาร จันทาทิพย์ เป็นเพียงแค่การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคม เพื่อให้เห็นความสำคัญของคนตัวเล็กตัวน้อยที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีระติ ธนะไชย. (2557). ฉันทลักษณ์ในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ : การสืบทอด การสร้างสรรค์
และความสัมพันธ์กับสุนทรียภาพทางวรรณศิลป์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุสุมา รักษมณี. (2534). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศิลปากร .
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2543). วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพฯ : วิภาษา.
ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2543). สุนทรียภาพในภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม.
ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2554). คติชนกับชนชาติไท. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปริตตา เฉลิมเผ่ากออนันกูล. (2544). “คำนำ”. ใน ปริตตา เฉลิมเผ่ากออนันกูล (บรรณาธิการ). ชีวิตชายขอบ
ตัวตนกับความหมาย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2555). สุนทรียภาพแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ : ณ เพชร สำนักพิมพ์.
สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : การพิมพ์พระนคร.
สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2541). หวังสร้างศิลป์ นฤมิตเพริศแพร้ว : การสืบทอดขนบกับการสร้างสรรค์
วรรณศิลป์ในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรา พงศาพิชญ์. (2542). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2553). ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.
อังคาร จันทาทิพย์.(2552). หนทางและที่พักพิง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผจญภัย.
. (2556). หัวใจห้องที่ห้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผจญภัย.
. (2562). ระหว่างทางกลับบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผจญภัย.

Transited Thai Reference
Huspek, Michael and Gary P. Radford. (1997). Transgressing Discourse : Communication
And The voice of Other. New York: State University of New York Press.